การทดสอบ ความต้านทานแรงดันทะลุ (Burst Strength Test) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความแข็งแรงของวัสดุ เมื่อได้รับแรงดันจากทุกทิศทางพร้อมกัน จนเกิดการทะลุหรือฉีกขาด วัสดุที่ผ่านการทดสอบนี้มักจะเป็น กระดาษ บอร์ด หรือวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่างๆ หรือ ความสามารถของกระดาษ หรือบอร์ด ที่จะต้านทานแรงดันสูงสุดที่กระทำตั้งฉากกับระนาบของชิ้นทดสอบ จนทำให้ชิ้นทดสอบแยกขาดจากกัน
สารบัญ
Toggleหลักการทำงานของการทดสอบ ความต้านทานแรงดันทะลุ
การทดสอบแรงดันทะลุ จะต้องทดสอบด้วยเครื่อง Burst Tester โดยนำตัวอย่างมาวางด้านบนของแผ่นยาง Diaphragm จากนั้นจะถูกจับยึดด้วย Clamp ด้านบนเพื่อไม่ให้ตัวอย่างเกิดการขยับเมื่อทดสอบ เมื่อเริ่มทดสอบ น้ำมันไฮดรอลิก หรือ Silicone oil (ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของเครื่องทดสอบ) จะถูกสูบด้วยอัตราคงที่ตามที่มาตรฐานกำหนด โดยจะทำหน้าที่ดันแผ่นยางขึ้นมาโดนชิ้นตัวอย่าง จนชิ้นตัวอย่างเกิดการทะลุ หรือแตก ความต้านทานแรงดันทะลุ คือ ค่าสูงสุดของแรงไฮดรอลิกที่ใช้
ความแตกต่างระหว่างการทดสอบแรงดันทะลุ (Burst) ของกระดาษ (Paper) และ บอร์ด (Paperboard, Corrugated board)
ในการทดสอบแรงดันทะลุ (Burst) ของกระดาษ และบอร์ด หลักการทดสอบจะเหมือนกัน แต่มาตรฐานจะแตกต่างกัน รวมถึงข้อกำหนดต่างๆ ที่กำหนดให้กับเครื่องทดสอบที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ไม่สามารถใช้เครื่องทดสอบ 1 เครื่อง กับตัวอย่างที่เป็นทั้ง กระดาษ และบอร์ดได้ หรือบางเครื่องอาจทดสอบได้ผลการทดสอบออกมาแต่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน และเมื่อนำผลไปเปรียบเทียบกับเครื่องที่ถูกต้องก็อาจได้ผลการทดสอบที่แตกต่างกัน เช่น ทดสอบตัวอย่างกระดาษ แต่ใช้เครื่องทดสอบแรงดันทะลุสำหรับบอร์ด มาเทียบผลการทดสอบกับเครื่องทดสอบสำหรับกระดาษผลที่ได้แตกต่างกัน และที่ถูกต้องคือ ตัวอย่างกระดาษ ควรใช้กับเครื่องสำหรับกระดาษ
มาตรฐานการทดสอบแรงดันทะลุ สำหรับกระดาษ (Paper): ISO 2759, TAPPI T810, มอก.550
มาตรฐานการทดสอบแรงดันทะลุ สำหรับบอร์ด (Board): ISO 2758, TAPPI T403, มอก.170
และตามมาตรฐานในการทดสอบแรงดันทะลุ (Burst) จะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไปตามตารางด้านล่าง
Apparatus |
Corrugated Board | Paper | ||
TAPPI T810 | ISO 2759 | TAPPI T403 |
ISO 2758 |
|
Measurement range (ช่วงในการทดสอบ) |
690-4825 kPa |
350-5500 kPa | 50-1200 kPa | 70-1400 kPa |
Pumping rate |
170±15 ml/min |
170±15 ml/min | 96±6 ml/min |
95±5 ml/min |
Accuracy |
± 10 kPa or ± 3% of the measurement |
± 10 kPa or ± 3% of the measurement | ± 10 kPa or ± 1% of the measurement |
± 10 kPa or ± 3% of the measurement |
Height gauge |
9.53 mm: 160 – 210 kPa |
10±0.2 mm: 170-220 kPa
18±0.2 mm: 250-350 kPa |
9 mm: 30 ± 5 kPa |
9±0.2 mm: 30 ± 5 kPa |
Upper clamping diameter |
Min. 95.3 mm Circular opening 31.5 ± 0.03 mm |
Min. 96 mm
Circular opening 31.5 ± 0.1 mm |
Min. 48 mm
Circular opening 30.5 ± 0.05 mm |
Min. 48 mm Circular opening 30.5 ± 0.05 mm |
Lower clamping diameter |
31.5 ± 0.03 mm (diaphragm plate) | 31.5 ± 0.1 mm (diaphragm plate) | 33.1 ± 0.1 mm (diaphragm plate) |
33.1 ± 0.1 mm (diaphragm plate) |
ความสำคัญของการทดสอบแรงดันทะลุ (Burst)
ความสำคัญของการทดสอบความต้านทานแรงดันระเบิด (Burst Strength) มีหลายด้าน ทั้งในแง่ของการประกันคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการใช้งานของวัสดุและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมกระดาษ บรรจุภัณฑ์ และสิ่งทอ ความสำคัญหลักๆ ของ Burst Strength มีดังนี้
1. การประกันคุณภาพ
การทดสอบ Burst Strength ช่วยให้ผู้ผลิตกระดาษ หรือ บอร์ด มั่นใจได้ว่าวัสดุและผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่สม่ำเสมอ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด การตรวจสอบความต้านทานแรงดันทะลุ สามารถช่วยในการตรวจจับข้อบกพร่อง หรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตได้
2. ความปลอดภัย
วัสดุที่ผ่านการทดสอบความต้านทานแรงดันทะลุ มีความปลอดภัยในการใช้งาน โดยเฉพาะในบรรจุภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม หรือบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการความแข็งแรงในการรับแรงดัน หรือแรงกระแทก เช่น บรรจุภัณฑ์ที่ต้องการป้องกันการรั่วซึม หรือการแตกหัก
3. ประสิทธิภาพในการใช้งาน
การทดสอบ Burst Strength ช่วยให้มั่นใจได้ว่าวัสดุมีความทนทาน และสามารถรองรับแรงดันในสภาพการใช้งานจริงได้ วัสดุที่มีค่าความต้านทานแรงดันทะลุสูงสามารถใช้งานได้ยาวนาน และมีประสิทธิภาพสูง
4. การปฏิบัติตามมาตรฐาน
การทดสอบความต้านทานแรงดันทะลุ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล เช่น ASTM, ISO ซึ่งจำเป็นในการรับรองคุณภาพและความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ในตลาดโลก
5. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
ข้อมูลจากการทดสอบ Burst Strength เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การรู้ค่าความต้านทานแรงดันทะลุช่วยให้สามารถปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุ และผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น
6. การลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหาย
วัสดุที่ผ่านการทดสอบและมีค่าความต้านทานแรงดันทะลุที่เหมาะสม สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายระหว่างการขนส่ง การจัดเก็บ และการใช้งาน
7. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
การทดสอบความต้านทานแรงดันทะลุช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตและวัสดุที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดของเสีย
8. การสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบความต้านทานแรงดันระเบิดช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและปลอดภัยต่อการใช้งาน
ในการทดสอบแรงดันทะลุ (Burst) จะเหมาะกับตัวอย่างที่เป็นกระดาษ และบอร์ดประเภท Single wall และ Double wall แต่ถ้าตัวอย่างเป็นแบบ Triple wall จะแนะนำให้ไปใช้การทดสอบ Puncture เนื่องจาก เครื่อง Burst อาจจะไม่สามารถทดสอบได้ และตามมาตรฐาน TAPPI T810 จะกำหนดให้ทดสอบได้แค่ Single wall และ Double wall
โดยทาง Chemical House เป็นตัวแทนจำหน่าย เครื่องทดสอบแรงดันทะลุ (Burst) และในห้องปฏิบัติการ ในอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (Pulp and Paper) ของยี่ห้อทั้ง KRK, Regmed และ Frank PTI
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ppsales@chemihouse.com
หรือ Line OA จาก QR Code ด้านล่าง