การทดสอบ ความต้านทานแรงฉีกขาด (Tear Resistance Test) หรือการทดสอบ Tear Test เป็นกระบวนการทดสอบ เพื่อวัดความสามารถของวัสดุในการทนต่อแรงฉีกขาด โดยวัสดุที่ถูกทดสอบนี้สามารถเป็นได้ทั้ง กระดาษ ฟิล์ม พลาสติก ฟอยล์ ผ้า หรือวัสดุอื่นๆ ที่ต้องการความทนทานต่อการฉีกขาดในกระบวนการผลิตหรือการใช้งาน
สารบัญ
Toggleทำไมถึงต้องมีการทดสอบ ความต้านทานแรงฉีกขาด
-
การประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์
เพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตมีความแข็งแรงและทนทานต่อการใช้งานจริง และตรวจเช็คคุณภาพก่อนที่จะนำวัสดุ ไปเข้ากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ออกมาให้ผู้บริโภคใช้งาน ซึ่งวัสดุที่มีความต้านทานแรงฉีกขาดสูงมักจะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า วัสดุที่มีค่าแรงต้านทานการฉีกขาดต่ำ
-
การปรับปรุงกระบวนการผลิต
ข้อมูลจากการทดสอบ สามารถช่วยในการปรับปรุงกระบวนการผลิต เช่น การปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ หรือกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์
-
การป้องกันปัญหาการใช้งาน
วัสดุที่ทนทานต่อการฉีกขาดจะลดความเสี่ยงของปัญหาการฉีกขาดระหว่างการใช้งาน เช่น การขาดกระดาษในเครื่องพิมพ์ การขาดถุงบรรจุภัณฑ์ หรือในการฉีกซองขนม หรือซองซอสต่างๆ ที่ง่าย หรือยากเกินไป
-
การปฏิบัติตามมาตรฐาน
ในหลายอุตสาหกรรม มีมาตรฐานที่กำหนดให้วัสดุต้องมีความต้านทานแรงฉีกขาดในระดับที่กำหนด การทดสอบนี้ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านั้นได้ และสามารถขายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาได้ตามที่แต่ละที่กำหนด
-
การเข้าใจในพฤติกรรมของวัสดุ
การทดสอบการฉีกขาดช่วยในการระบุลักษณะของวัสดุที่ตอบสนองต่อแรงที่อาจนำไปสู่การฉีกขาด ด้วยการทำความเข้าใจประสิทธิภาพของวัสดุในด้านนี้ ผู้ผลิตสามารถคาดการณ์ได้ว่าวัสดุจะมีพฤติกรรมอย่างไร เมื่อมีการใช้งานจริงที่อาจเกิดการฉีกขาดได้
ประเภทของการทดสอบ (Method)
การทดสอบความต้านทานแรงฉีกขาดสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุและมาตรฐานที่ใช้ วิธีการที่นิยมใช้ได้แก่:
-
Elmendorf Tear Test:
- วิธีการนี้ใช้เครื่องทดสอบแบบ Elmendorf ซึ่งทำการตัดตัวอย่างวัสดุ ในแต่ละวัสดุไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของวัสดุนั้นๆ ว่าต้องตัดตัวอย่างลักษณะแบบไหน เช่น กระดาษ ตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือฟิล์มตัดตัวอย่างเป็นครึ่งวงกลม และจะมีการทำ Pre-cut หรือการตัดนำร่องก่อนการทดสอบที่ระยะ 20 mm แล้ววัดแรงที่ต้องใช้ในการฉีกขาดตัวอย่าง และเป็นวิธีที่นิยมทดสอบมากที่สุด และเป็นการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D1922, ASTM D689, ASTM D5734, TAPPI T414, ISO 6383-2 เป็นต้น ซึ่งวิธีการทดสอบนี้ สามารถทดสอบกับวัสดุได้หลากหลาย เช่น กระดาษ ฟิล์ม พลาสติก ผ้า ฟอยล์
-
Trouser Tear Test:
- เป็นการทดสอบโดยใช้เครื่อง Universal Tester หรือ เครื่อง Tensile ในการทดสอบตัวอย่าง วัสดุถูกตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีการตัดนำร่องที่ 50 mm และใช้แรงดึงในการแยกสองขาออกจากกัน ออกเป็นรูปตัว T วัดแรงที่ต้องใช้ในการดึงขาแต่ละข้างออก ตามมาตรฐาน ASTM D1938 ซึ่งจะเป็นวิธีการทดสอบกับตัวอย่างประเภทฟิล์ม พลาสติก
-
Graves Tear Test:
- เป็นการทดสอบโดยใช้เครื่อง Universal Tester หรือ เครื่อง Tensile ในการทดสอบตัวอย่าง ใช้กับฟิล์มหรือวัสดุที่มีความบาง หรือ low rate of loading วัสดุถูกตัดเป็นแผ่นและใช้แรงดึงให้เกิดการฉีกขาด และวัดแรงที่ต้องใช้ ตามมาตรฐาน ASTM D1004 จะเป็นวิธีการทดสอบกับตัวอย่างประเภทฟิล์ม พลาสติก
โดยทางบริษัท Chemical House and Lab Instrument เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือ เครื่องทดสอบ Tear Tester ของยี่ห้อ Thwing Albert ซึ่งเป็น Original manufacturer of the Elmendorf Tear Tester คือ เป็นต้นแบบของเครื่องทดสอบความต้านทานแรงฉีกขาด แบบ Elmendorf
ซึ่งทาง Thwing Albert ได้ร่วมออกแบบเครื่องทดสอบกับ Mr. Armin Elmendorf ที่เป็นเจ้าของ Method Elmendorf ซึ่งในปัจจุบันได้มีการออกรุ่นใหม่ เป็นหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) และมี Feature เพิ่มเติม
ความแตกต่างระหว่าง Electronic Elmendorf ProTear รุ่นเก่า และรุ่นใหม่
Model | New model: Electronic Elmendorf ProTear Touch Screen | Old model: Electronic Elmendorf ProTear |
Display | หน้าจอ Touch Screen | หน้าจอ LCD |
Capacity | 40 – 10240 gf (200, 400, 800, 1600, 3200, 6400, 12800 gf) |
40 – 5120 gf (200, 400, 800, 1600, 3200, 6400 gf) |
Automatic Pendulum return | Yes (Option) | No |
การเปลี่ยน Pendulum หรือ Weight | Toolless (ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับเปลี่ยน) | ต้องใช้อุปกรณ์ในการเปลี่ยน |
Feature | มี Electronic leveling sensor | ไม่มี |
สามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรม MAP4 สำหรับดูกราฟ และผลการทดสอบได้ | เชื่อมต่อกับโปรแกรม DAS สำหรับส่งออกข้อมูล แต่ไม่มีกราฟ | |
สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องวัดความหนา (ProGage) ของ Thwing Albert ได้ | ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ |
เครื่อง Electronic Elmendorf ProTear ของ Thwing Albert สามารถทดสอบได้ทั้งกระดาษ ฟิล์ม พลาสติก ฟอยล์ ผ้า Nonwoven ในเครื่องเดียวกัน ขึ้นอยู่กับ Capacity ที่เลือกมาว่าสามารถฉีกตัวอย่างขาดหรือไม่ รวมถึงขั้นตอนการเตรียมตัวอย่าง ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุ และมาตรฐานนั้นๆ
การตัดตัวอย่างของแต่ละวัสดุ
- ฟิล์ม พลาสติก: ตัดตัวอย่างเป็นครึ่งวงกลม หรือ Constant Radius Sample ตัวอย่างกว้าง 76 mm และสูง 63 mm
- กระดาษ: ตัดตัวอย่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ Rectangular Sample ตัวอย่างกว้าง 76 mm (หรือขนาดอื่น) และสูง 63 mm
- ผ้า: ตัดตัวอย่างเป็นสี่เหลี่ยม หรือ Textile Sample คล้ายกับการตัดตัวอย่างของกระดาษ แต่จะมีขอบซ้าย และขวาที่สูงกว่า
ทางบริษัท Chemical House เป็นตัวแทนจำหน่าย เครื่องมือวัด เครื่องมือทดสอบ ในห้องปฏิบัติการ ในอุตสาหกรรม Pulp, Paper หรือ Flexible Packaging เช่น เครื่อง Tear Tester, Tensile Tester, COF เป็นต้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ppsales@chemihouse.com
หรือ Line OA จาก QR Code ด้านล่าง