สารบัญ
Toggleคุณสมบัติ ของบรรจุภัณฑ์กระดาษ
กระดาษ เป็นวัสดุประเภทหนึ่ง ที่ผ่าน ขั้นตอนการผลิต ที่ซับซ้อน และผ่านการทดสอบคุณสมบัติ มากมาย เพื่อที่ผู้บริโภคสามารถมั่นใจในการนำกระดาษ ไปใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด จึงต้องมีการทดสอบ คุณสมบัติของกระดาษ กล่อง หรือภาชนะกระดาษ
ในการผลิตกระดาษออกมาแต่ละครั้งนั้นจำเป็นต้องมีการทดสอบ คุณ สมบัติของกระดาษ ทั้งในด้านของสมบัติทางกายภาพ (Physical properties)และสมบัติทางเคมี (Chemical properties)
สมบัติทางกายภาพของกระดาษนั้นอาจจำแนกออกเป็น สมบัติพื้นฐาน สมบัติการดูดซับ สมบัติของผิวหน้า และสมบัติความแข็งแรง โดยทั่วไปกระดาษที่นำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์จะถูกทดสอบในด้านต่างๆดังนี้
การทดสอบบรรจุภัณฑ์กระดาษ
1.น้ำหนักมาตรฐาน (Basic Weight)
เพื่อกำหนดเกณฑ์ สำหรับการซื้อขาย เนื่องจากค่าน้ำหนักมาตรฐาน ของกระดาษชนิดหนึ่ง จะสัมพันธ์โดยตรงกับ ความแข็งแรงของกระดาษนั้นๆ
2. ความหนา ( Thickness or caliper)
นิยมใช้ ตรวจคุณภาพ ของกระดาษวัสดุอ่อนตัวทั่วไป และภาชนะบรรจุ เกือบทุกประเภท เป็นวิธี การทดสอบที่ รวดเร็ว และทำได้ง่าย ซึ่งความหนาอาจส่งผลต่อ ค่าความทึบแสง หรือค่าความแข็งตึง (Stiffness)
3. ความต้านทางแรงดันทะลุ (Bursting Strength)
เป็นการทดสอบ ความสามารถ ของกระดาษ หรือแผ่นลูกฟูก ที่จะต้านทาน ความดันที่เพิ่มขึ้น ในอัตราคงที่ จนกระทั่ง ตัวอย่าง ทดสอบฉีกขาด มีหน่วยวัด เป็นกิโลปาสคาล (kPa) หรือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (kg/cm) นิยมใช้ ทดสอบคุณภาพ ของกระดาษ กระดาษแข็ง หรือแผ่นลูกฟูก ที่นำมาขึ้นรูป เป็นภาชนะ เช่น กล่อง ถัง เป็นต้น
4. ความต้านทานต่อแรงดึง (Tensile Strength) และการยืดตัว (Elongation)
ความแข็งแรงต่อการดึง เป็นสมบัติพื้นฐาน ที่สำคัญ ที่จะบ่งบอก ความแข็งแรง ค่าความต้านทานต่อแรงดึงขาด จะรายงานเป็น ค่าแรง ต่อพื้นที่หน้าตัด ของแผ่นตัวอย่าง หรือแรงต่อความกว้าง ของแผ่นตัวอย่าง ส่วนการยึดตัว จะรายงานเป็นค่าร้อยละ
5. ความต้านทานต่อแรงฉีกขาด (Tear Resistance)
เป็นการทดสอบ ค่างานเฉลี่ย ที่ใช้ในการฉีกกระดาษ ที่มีรอยฉีกไว้แล้ว มีหน่วยเป็น กรัมแรง x เมตร หรือ นิวตัน x เมตร (gf.m หรือ N.m) การทดสอบนี้ มีความสำคัญต่อการ ควบคุมคุณภาพ ของกระดาษ ถุงกระดาษ และกล่องกระดาษแข็ง
6. การดูดซึมน้ำ (Water Absorption)
เป็นการทดสอบความสามารถของกระดาษต่อการดูดซึมน้ำที่สัมผัสภายในระยะเวลาที่กำหนด มีค่าเป็นน้ำหนักน้ำที่กระดาษดูดซึมไว้ต่อพื้นที่สัมผัสกับน้ำ ซึ่งจะเป็นการทดสอบ Cobb test การทดสอบนี้มีความสำคัญต่อการพิมพ์ (การดูดซึมหมึก) การทากาว การทนทาน ต่อสภาวะแวดล้อมขณะขนส่งโดยเฉพาะกระดาษ ที่เอาไปทำ บรรจุภัณฑ์ สำหรับอาหารแช่แข็ง
7. ปริมาณความชื้น (Moisture Content)
การทดสอบปริมาณความชื้นโดยวิธี การอบแผ่นตัวอย่าง ที่ทราบน้ำหนักแน่นอนในเตาอบที่ 105 °C เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงแล้วนำมาคำนวณหาปริมาณความชื้น ปริมาณความชื้น ในตัวอย่างนิยมรายงานค่าเป็นร้อยละ การทดสอบนี้มีความสำคัญต่อกระดาษแข็ง และกระดาษลูกฟูกที่จะนำไปขึ้นรูปเป็นภาชนะบรรจุภัณฑ์
8. ทัศนสมบัติ (Optical Properties)
ทัศนสมบัติ จะเกี่ยวข้อง กับการใช้ประโยชน์ กระดาษในด้านของ สิ่งพิมพ์ เช่น ความขาว (Whiteness) ความขาวสว่าง (Brightness) ความทึบแสง (Opacity) และความมันเงา (Gloss) ซึ่งสมบัติพวกนี้ จะเกิดจากปฏิสัมพันธ์ (interaction) ของคลื่นแสงที่มองเห็นได้ (Visible light, 380-780 nm in wave length) กระทบกับวัตถุ แล้วสะท้อนไป สัมผัสประสาทรับรู้การมองเห็น และสุดท้าย คือการแปลผล
จากที่กล่าวมานั้น เป็นตัวอย่างการทดสอบในด้าน คุณสมบัติของกระดาษ สำหรับผู้ผลิตกระดาษ ซึ่งในการทดสอบ และประเภทนั้น ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ เช่น การนำไปใช้ถ่ายเอกสาร ใช้ทำถุง ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ หรืออื่นๆ ซึ่งการทดสอบ จะแตกต่างออกไป ตามการนำไปใช้งาน ทาง CH นั้น เป็นตัวแทนจำหน่าย เครื่องทดสอบกระดาษหลากหลายยี่ห้อ เช่น KRK, Thwing Albert, Regmed, Emco เป็นต้น
สนใจ ติดต่อสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ppsale@chemihouse.com หรือ โทร 02-184-4000 (Auto Line)
สอบถาม Add Line OA หรือ Add line จาก QR Code ด้านล่าง