Search
Search
Close this search box.
การทดสอบ COF, Testing Equipment, เครื่องมือวัด,Chemical House

การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ แรงเสียดทาน

การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ แรงเสียดทาน หรือ Coefficient of Friction (COF) นั้นสามารถทดสอบได้ทั้งใน พลาสติกฟิล์ม กระดาษ บอร์ด พวกวัสดุที่นำมาทำเป็น Packaging ต่างๆ โดยการ COF นั้น จะเป็นการทดสอบเพื่อใช้ประเมิน การใส่สารเคมี หรือ พวกสารเติมแต่ง (additives) เพื่อช่วยในการเพิ่ม หรือลดระดับความเสียดทานระหว่างชิ้นงานทดสอบที่สัมผัสกันทั้งสองชิ้น

ทำไมต้องทดสอบค่า COF ของ Packaging

นอกจากใช้ประเมินเรื่อการใส่สารเติมแต่งแล้วนั้น การทดสอบหาค่า COF เพื่อเป็นการลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในไลน์การผลิตของพวกพลาสติกฟิล์ม เพราะถ้าตัวฟิล์มนั้นมีค่า COF สูงเกินไป หรือต่ำเกินไป อาจส่งผลให้ในสายพานการผลิตอาจเเกิดการย่น หย่อน หรือเกิดการลื่นไถล

แรงเสียดทาน (Friction)

แรงเสียดทานเป็นแรงที่ ต้านทานการเคลื่อนที่วัตถุ โดยจะเกิดขึ้นที่บริเวณผิวของวัตถุ และมีทิศทางตรงกันข้าม กับการเคลื่อนที่ของวัตถุ เหมือนในรูปด้านล่าง ซึ่งแรงเสียดทานนั้นจะส่งผลต่อการเคลื่อนที่ โดยแรงเสียดทานมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่ลักษณะผิวสัมผัส แรงกดวัตถุลงพื้น และชนิดของวัตถุที่สัมผัส โดยแรงเสียดทานสามารถแยกได้เป็นสองอย่าง คือ แรงเสียดทานสถิต (Static) และ แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic)

หาสัมประสิทธิ๋แรงเสียดทาน
การทดสอบหาสัมประสิทธิ๋แรงเสียดทาน
  • Static Fiction แรงเสียดทานสถิต คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้น ในขณะที่วัตถุหยุดนิ่ง จนถึงวัตถุเริ่มเคลื่อนตัว โดยจะดูที่ค่าสูงสุดที่จะเกิดค่าแรงเสียดทาน
  • Kinetic Friction แรงเสียดทานจลน์ คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ ในขณะที่วัตถุได้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ หรืออาจจะเรียกว่า Dynamic Friction
Static และ Kinetic Friction
ค่า Static และ Kinetic Friction

สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน (COF)

สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน (Coefficient of Friction: COF) คือ อัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานต่อแรงกดตั้งฉากกับผิวสัมผัส โดยปัจจัยที่จะส่งผลต่อค่า COF นั้นก็มีตั้งแต่ ค่าแรงที่จะกดลงวัตถุ ซึ่งตามมาตรฐานของแต่ละวัสดุก็จะกำหนดน้ำหนักที่แตกต่างกันออกไป แต่น้ำหนักที่ใช้หลักๆเลย ก็จะเป็น น้ำหนัก (Sled) ที่ 200 กรัม ในการทดสอบฟิล์ม และกระดาษ ตามมาตรฐาน ASTM D1894 หรือ TAPPI T815

แรงกดตั้งฉากกับผิวสัมผัส ถ้าแรงกดตัวฉากกับผิวสัมผัสมากจะเกิดแรงเสียดทานมาก ถ้าแรงกดตั้งฉากกับผิวสัมผัสน้อยจะเกิดแรงเสียดทานน้อย ดังนั้นเรื่องน้ำหนักที่จะกดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการทดสอบหาค่า COF  และโดยปกตินั้น ค่าของ Static Friction นั้นจะมากว่ากว่าค่า Kinetic Friction เล็กน้อย แต่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุที่นำมาทดสอบด้วย เพราะบางอย่างอาจมีการใส่สารเคมี หรือพฤติกรรมของตัวอย่างที่อาจส่งผลให้ได้ค่า Static Friction ต่ำกว่า Kinetic Friction เล็กน้อย

ประเภทของการทดสอบค่าความเสียดทาน

  1. การทดสอบแบบการเลื่อนแผ่น plate และตัว Sled อยู่นิ่ง (Stationary sled with moving plate)
  2. การทดสอบแบบที่แผ่น plate อยู่นิ่ง และเลื่อนตัว Sled (Moving sled with stationary plate)
  3. การทดสอบแบบขยับ plate ขึ้นทำมุม หรือเรียกว่า Sliding Angle

ในการทดสอบ สองอันดับแรงนั้นจะเป็นการทดสอบตาม ASTM D1894 หรือโดยส่วนมากจะเป็นการทดสอบพวก พลาสติกฟิล์ม จะใช้มากใน โรงฟิล์ม

การทดสอบ COF ประเภท Moving sled with stationary plate,Coefficient of Friction,สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน
การทดสอบ COF ประเภท Moving sled with stationary plate

ส่วนการทดสอบแบบที่สาม หรือ Sliding Angle จะเป็นการทดสอบด้านพวก Paper packaging หรือพวก paperboard จะเป็น inclined plane method จะใช้งานการ sled ไว้บนตัวอย่าง จากนั้นตัวเครื่องจะทำการยก plane ขึ้นไปทำมุม จนกว่า ตัวอย่างจะเกิดการเคลื่อนที่ และอ่านค่ามุมที่วัดได้

การทดสอบ Sliding Angle
การทดสอบ Sliding Angle

โดยในการทดสอบทั้งสามแบบนั้น สองแบบแรกจะเป็นการดูค่า µ หรือ สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน ของทั้ง Static และ Kinetic แต่แบบที่สาม จะเป็นอ่านค่ามุมที่ทำให้ตัวอย่างเกิดการเคลื่อนที่ ทั้งสองค่านั้น สามารถคำนวณไปหากันได้ แต่ค่าที่ได้นั้น จะไม่ได้เหมือนกัน 100% แต่จะเป็นแนวโน้มที่ใกล้เคียงกัน

จากประเภทการทดสอบ COF ทั้ง 3 แบบที่กล่าวมานั้น ทาง Chemical House มีเครื่องมือทดสอบทั้ง 3 แบบ จากทั้งประเทศ อเมริกา ยี่ห้อ Thwing Albert สำหรับแบบ Moving sled with stationary plate และ Emerson สำหรับ เครื่อง Sliding Angle

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ppsales@chemihouse.com หรือ โทร 02-184-4000 Ext.201 

สอบถาม Line OA หรือ Add line จาก QR Code ด้านล่าง

Share the Post:

Related Posts

Scroll to Top

Contact us