การทดสอบคุณภาพ หรือคุณสมบัติของกล่องนั้น มีการทดสอบที่หลากหลาย ซึ่งจะอ้างอิงตามมาตรฐานสากลคือ ISO และ TAPPI ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ในแต่ละการทดสอบของ ทั้งสองมาตรฐานนั้น จะไม่ค่อยมีข้อแตกต่างกันเท่าไร แต่ในการทดสอบ ECT หรือ Edgewise Crush Resistance เมื่อเราเปรียบเทียบ ระหว่างการทดสอบตามมาตรฐาน ISO กับ TAPPI นั้นจะมีข้อแตกต่างในการทดสอบที่ชัดเจน ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง ความแตกต่างในการทดสอบ ECT ระหว่าง ISO และ TAPPI
สารบัญ
Toggleการทดสอบ ECT หรือ Edgewise Crush Resistance
ECT คือการทดสอบความต้านทานแรงกดในแนวตั้ง เป็นการประเมินความสามารถของแผ่นกระดาษลูกฟูก ในการต้านแรงกดที่กระทำลงมาในทิศทางเดียวกับลอนลูกฟูกจนแผ่นกระดาษลูกฟูกหักหรือยุบ การทดสอบนี้มีความสำคัญต่อแผ่นกระดาษลูกฟูกมาก เพราะเป็นค่าที่บอกถึงความแข็งแรงของแผ่นกระดาษลูกฟูก ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับความแข็งแรงในการเรียงซ้อนของกล่องกระดาษลูกฟูกหรือค่าการรับแรงกดของกล่องนั่นเอง ค่าความต้านแรงกดในแนวตั้งสามารถนำมาคำนวนหาความต้านแรงกดของกล่องกระดาษลูกฟูกได้
ในกรณีของแผ่นกระดาษลูกฟูก 1 ชั้น ความสูงของลอนลูกฟูก จะมีผลต่อค่าความต้านแรงกดในแนวตั้ง นั่นคือ ความสูงของลอนลูกฟูกมากก็ย่อมมีค่าความต้านแรงกดในแนวตั้งมากตามไปด้วย ซึ่งการเปรียบเทียบกันนี้จะต้องทดสอบที่สภาวะเดียวกันและใช้
องค์ประกอบของกระดาษที่ใช้ทำแผ่นกระดาษลูกฟูกเหมือนกัน เครื่องมือที่ใช้คือ เครื่องกด (Crush tester) มาตรฐานที่ใช้ทดสอบได้แก่ ISO 3037 , TAPPI (T 811 , T 823) , JIS-0410
จากที่เรากล่าวมาด้านบนนั้น จะเห็นได้ว่าในการทดสอบ ECT นั้นจะอ้างอิงตามมาตรฐานสองเลข ก็คือ ISO 3037 และ TAPPI T811 ซึ่งจะมีวิธีการทดสอบที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่การเตรียมตัวอย่าง จนถึงวิธีการทดสอบ
ISO 3037 Determination of edgewise crush resistance (unwaxed edge method)
ในการทดสอบตามมาตรฐาน ISO 3037 นั้น จะให้ทำการตัดตัวอย่างที่ขนาด 25 x 100 mm ทุกชนิดของลอน และต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมคือ Guide Block ซึ่งจะทำหน้าที่ในการประคองชิ้นตัวอย่าง เพื่อให้ในการทดสอบกดลงมาได้ในแนวตั้งฉาก ซึ่งจะกำหนดขนาดตามมาตรฐานอยู่ที่ 20 x 20 x 100 mm (W x H x L)
ความเร็วในการทดสอบอยู่ที่ 12.5 mm/min
เมื่อเราเตรียมตัวอย่างเสร็จให้ทำการ นำตัวอย่างที่มีตัว Guide block ประคองอยู่วางไว้ที่เครื่องทดสอบ และเมื่อ เกิดแรงกดขึ้น ให้นำตัว Guide block เพื่อที่จะได้ทำการทดสอบได้สมบูรณ์ โดยการทดสอบแบบนี้ จะเป็นการกดแล้วเกิดการยุบตัวตั้งแต่บริเวณขอบด้านบนที่ถูกกดลงมา ซึ่งจะแตกต่างกับการทดสอบตาม TAPPI
TAPPI T811 Edgewise compressive strength of corrugated fiberboard (short column test)
ในการทดสอบ ECT ตามมาตรฐาน TAPPI T811 นั้น จะมีการตัดตัวอย่างที่หลายขนาด ขึ้นอยู่กับชนิดของลอนลูกฟูก
- ลอน A : 50.8 x 50.8 mm (width x height)
- ลอน B : 50.8 x 31.8 mm (width x height)
- ลอน C : 50.8 x 38.1 mm (width x height)
และเมื่อตัดตัวอย่างเสร็จแล้ว ต้องมีการนำตัวอย่างไปจุ่มขี้ผึ่ง (Paraffin Wax) ค้างประมาณ 3 วินาที โดยกำหนดระยะที่จุ่มอยู่ที่ ขอบบน 6 mm และขอบล่าง 6 mm แล้วปล่อยให้ขี้ผึ้ง แห้งและแข็งตัว จากนั้นนำเข้าเครื่องมือกดทดสอบ โดยในการทดสอบนั้น เมื่อทำการกดตัวอย่าง จะเกิดการเสียหายหรืองอที่บริเวณตรงกลางที่ไม่ได้จุ่มขี้ผึ่ง ซึ่งจะแตกต่างกับทาง ISO ที่จะเกิดการเสียหายหรืองอ ที่บริเวณขอบก่อน
จากที่กล่าวมานั้น จะทำให้เห็น ความแตกต่างในการทดสอบ ECT ซึ่งเราจึงจำเป็น จะต้องกำหนดไปเลยว่าต้องการทดสอบตามมาตรฐานใด เพื่อป้องกันการสับสน เพราะการทดสองจากสองมาตรฐานมีวิธีและขนาดตัวอย่างที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ค่าการทดสอบเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันและแตกต่างกัน เพราะมันเป็นการดูค่าแรงกดต่อพื้นที่
นอกจากการทดสอบ ECT แล้วนั้น ในการทดสอบคุณภาพ ของกล่องก็จำเป็นต้องมีการทดสอบคุณสมบัติอื่นๆด้วย ก็คือ
- Basic weight หรือ น้ำหนักมาตรฐานของกระดาษแต่ละชั้น
- Thickness หรือ ความหนา
- Cobb test หรือ การดูดซึมน้ำ
- Moisture content หรือ ปริมาณความชื้น
- Ink Rub test หรือ ความต้านทานการขัดถูของงานพิมพ์
- ECT หรือ ความต้านทานแรงกดในแนวตั้ง
- FCT หรือ ความต้านทานแรงกดในแนวนอน
- Burst Test หรือ ความต้านทานแรงดันทะลุ
- Puncture Test หรือ ความต้านทานแรงทิ่มทะลุ
ซึ่งการทดสอบที่ทั้งหมดนั้นทาง Chemical House มี เครื่องมือวัด เพื่อทำการทดสอบตามข้อกำหนดด้านบน โดยมีทั้งจากแบรนท์จีน ญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา เช่น KRK, Frank PTI เป็นต้น
สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ppsales@chemihouse.com หรือ โทร 02-184-4000
สอบถาม Line OA หรือ Add line จาก QR Code ด้านล่าง