บรรจุภัณฑ์ที่สามารถเข้า ไมโครเวฟ ได้

ในปัจจุบัน มีการใช้ ไมโครเวฟ เพื่ออุ่นอาหารมากขึ้น ส่วนใหญ่แต่ละบ้าน ก็มีไมโครเวฟกัน เพื่อนำอาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป หรืออาหารที่เรากินเหลือ มาอุ่น เพื่อให้สามารถรับประทานได้ แต่อาหาร ที่อยู่ในกล่องบรรจุภัณฑ์นั้น ไม่ได้สามารถเข้าไมโครเวฟได้ทุกประเภท รวมถึงกล่องใส่อาหารกระดาษ หรือที่ทำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ ก็ไม่ได้สามารถนำเข้า ไมโครเวฟได้ทุกผลิตภัณฑ์ 100%

สัญลักษณะไมโครเวฟ

การจะนำบรรจุภัณฑ์อาหารไปเข้าไมโครเวฟนั้น เราจำเป็นต้องสังเกตบริเวณกล่องบรรจุภัณฑ์ ว่ามีสัญลักษณ์เส้นหยัก หรือคำชี้แจงว่าวัสดุนี้ สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้  หรือ กล่องอาหารมีหมายเลข 5 (PP) (สัญลักษณ์ต่างๆของ พลาสติกรีไซเคิล คลิ้ก)

หลักการการให้ความร้อนจากไมโครเวฟ

เตาอบไมโครเวฟ ให้ความร้อนกับอาหารโดยการ แผ่คลื่นย่านความถี่ไมโครเวฟ โดยปกติจะใช้ ช่วงความถี่ 2.45 จิกะเฮิรตซ์ (GHz) (หรือ ความยาวคลื่น 12.24 เซนติเมตร) ผ่านเข้าไปในอาหาร. โมเลกุลของน้ำ ไขมัน และ น้ำตาล ที่อยู่ในอาหารจะ ดูดซับพลังงานของคลื่นที่ผ่านเข้าไป และเกิดเป็นความร้อนขึ้น ในกระบวนการที่เรียกว่า การเกิดความร้อนในสารไดอีเล็กตริก (dielectric heating) เนื่องจาก โมเลกุลส่วนใหญ่นั้นเป็น โมเลกุลที่มีขั้วไฟฟ้า คือ มีประจุบวก และ ประจุลบที่ขั้วตรงกันข้าม เมื่อคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งเป็นสนามไฟฟ้าผ่านเข้าไป โมเลกุลเหล่านี้ ก็จะถูกเหนี่ยวนำ และหมุนขั้วเพื่อปรับเรียงตัวตามสนามไฟฟ้าของคลื่น และคลื่นนี้เป็นสนามไฟฟ้าที่ เปลี่ยนแปลงสลับไปมา จึงส่งผลให้โมเลกุลเหล่านี้หมุนกลับไปมา ทำให้เกิดความร้อนขึ้น

บรรจุภัณฑ์ที่ สามารถเข้า ไมโครเวฟ ได้

1. กล่องกระดาษใส่อาหาร

กล่องกระดาษใส่อาหาร

กล่องกระดาษ ที่ผลิตมาเพื่อใส่อาหารนั้น เป็นกล่องที่ ผลิตมาจากเยื่อธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะผลิตมาจาก เยื่อยูคาลิปตัส ซึ่งโดยปกติแล้ว การที่เราจะนำกระดาษ เข้าไมโครเวฟนั้น อาจส่งผลให้เกิดประกายไฟ และส่งผลเสียต่อไมโครเวฟได้ รวมถึงกล่องกระดาษ จะมีการเคลือบสารเคมี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน จึงไม่แนะนำให้ เข้าไมโครเวฟ เพราะสารเคลือบ เมื่อโดนความร้อนอาจเกิดการซึมเข้าไปในอาหารได้

แต่ปัจจุบัน ก็มีการพัฒนา ทำให้บางผลิตภัณฑ์ หรือบางยี่ห้อ ออกแบบ และพัฒนาให้สามารถเข้าไมโครเวฟ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่การอุ่นอาหาร ไม่ควรอุ่นนานเกินไปป เพราะผลิตภัณฑ์ไม่สามารถทนความร้อนได้นาน ที่แนะนำคือไม่ควรอุ่นเกิน 5 นาที ที่ไมโครเวฟแบบ 800 watt

2. กล่องใส่อาหารจากชานอ้อย

กล่องชานอ้อย

กล่องจากชานอ้อย หรือบรรจุภัณฑ์ไฟเบอร์ ที่ตอนนี้เป็นที่นิยมในการนำมาใส่อาหาร เนื่องจากเป็นวัสดุจากธรรมชาติ และย่อยสลายได้ ก็จะมีข้อจำกัดที่เหมือนกับกล่องกระดาษ

การนำไปเข้าไมโครเวฟนั้น จะต้องดูสัญลักษณ์ของกล่องนั้นๆ ว่าเขียนไว้ว่า สามารถเข้าไมโครเวฟได้หรือไม่ และไม่ควรอุ่นด้วยเวลานานๆ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ไฟเบอร์นั้น ไม่สามารถทนความร้อนได้นาน

3. กล่องพลาสติก PET

กล่องพลาสติก PET

กล่องจะมีสัญลักษณ์ PET หรือที่เราเจอกันบ่อยๆจะเป็นกล่องใส่อาหารที่เป็นสีดำ โดย PET จะเป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Primary Packaging) ที่จะสัมผัสกับอาหารโดยตรง ซึ่งปลอดภัยสำหรับการเข้าไมโครเวฟ แข็งแรงทนทาน ทนต่อการใช้งานที่อุณหภูมิสูงถึง 230 องศาเซลเซียล และทนต่อการแช่ช่องแข็งด้วย

4. ถุง หรือซอง

ถุง หรือซอง

ปัจจุบันจะมีถุง หรือซองพลาสติกประเภทที่สามารถเข้าไมโครเวฟได้ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุประเภทกระดาษ กระดาษเคลือบพลาสติก ซึ่งสามารถแช่ช่องแข็งได้

5. ถ้วย หรือถาดอาหาร PE

ถ้วย PE

ผลิตจากพลาสติก PE ซึ่ง พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง สามารถใช้กับอาหารที่มีไขมัน และน้ำมันสูงได้ อาหารแช่แข็ง อาหารที่อุ่นแล้วเกิดไอน้ำ

6. เซรามิก

ชามเซรามิก

เซรามิก เป็นบรรจุภัณฑ์อีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถอุ่นไมโครเวฟได้  และยังแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามวัสดุ การนำมาใช้มีข้อควรระวังคือเรื่องของสีที่ใช้ตกแต่งเครื่องเซรามิก ไม่ควรใช้สีที่ฉูดฉาดเพราะ บางสีอาจสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ  มีผลทำให้ไมโครเวฟเสียหายได้ง่าย

7. แก้ว

ชามแก้ว

แก้วเป็นภาชนะที่ ทนทานต่อความร้อนสูงมาก เนื่องจาก องค์ประกอบของแก้วคือสารอนินทรีย์ เช่น ทราย และ ผิวของแก้วไม่มีการสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ

บรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถเข้าไมโครเวฟได้

1. กล่อง APET

กล่องพลาสติก APET

กล่อง APET จะเป็นกล่องแบบใส สวยงาม ทำให้เห็นอาหารที่อยู่ด้านใน เหมาะสำหรับใส่อาหารแช่เย็น แต่ไม่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ ถ้านำเข้าไมโครเวฟจะเกิดการละลายได้ ส่วนใหญ่จะเป็นกล่องใส่อาหารสำเร็จรูป เบเกอรี ใส่ผัก ผลไม้ กล่องเหล่านี้สามารถนำไปรีไซเคิลได้

2. กล่องโฟม

กล่องโฟม

กล่องโฟม (PS, สไตรีน, สไตโรโฟม) ไม่สามารถเข้าไมโครเวฟได้ เนื่องจากโฟม เมื่อโดนความร้อนจะเกิดการละลาย และสารที่ละลายออกมา อาจโดนกับอาหารได้ ในอดีตเรามีการใช้กล่องโฟมที่มาก แต่เนื่องจากมันใช้เวลาในการย่อยสลายที่นาน คนจึงนิยมใช้กล่องที่ผลิตมาจากวัสดุธรรมชาติแทน

3. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของโลหะ

กล่องที่มีส่วนของโลหะ

เนื่องจากภาชนะที่เป็นโลหะ หรือบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มบางชนิดมีการตกแต่งด้วยโลหะ เช่น มีด้ามจับเป็นโลหะ เมื่อนำเข้าไมโคเวฟอาจทำให้เกิดประกายไฟ  ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย

 

สำหรับการนำบรรจุภัณฑ์ ที่ทำมากจากพลาสติก มาทำอุ่นไมโครเวฟนั้น ถึงแม้ว่าจะมีสัญลักษณ์ว่า สามารถเข้าไมโครเวฟได้ หรือภาชนะพลาสติกที่เขียนว่า microwave-safe หรือ microwavable นั้น เป็นพลาสติกที่ไม่ละลาย หรือแตกเมื่ออุ่นในเตาไมโครเวฟ แต่ไม่ได้หมายความว่า ปลอดภัยต่อร่างกาย 100เนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่า เมื่อใช้อุณหภูมิขนาดนี้ สารจะออกมาปะปนมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ หากนำไปอุ่นอาหารที่มีไขมันสูง อาจทำให้เกิดปฏิกิริยา ทำให้มีสาร lipophilic ออกมา ซึ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยง การเป็นมะเร็งได้

เพื่อความปลอดภัย และความมั่นใจ ก่อนนำบรรจุภัณฑ์เข้าไมโครเวฟทุกครั้ง ให้ดูสัญลักษณ์ด้านใต้บรรจุภัณฑ์ก่อนทุกครั้ง ว่าสามารถเข้าไมโครเวฟได้หรือไม่ หรือ นำอาหารมาใส่ในภาชนะพวก เซรามิก หรือแก้ว เพื่อความปลอดภัย 100%

 

บรรจุภัณฑ์ทั้งจากพลาสติก และบรรจุภัณฑ์จากวัตถุดิบธรรมชาตินั้น ล้วนต้องมีการทดสอบความแข็งแรง ความสามารถในการใช้งานด้านต่างๆ ทาง Chemical House เป็นตัวแทนจำหน่าย เครื่องมือ เครื่องทดสอบด้านความแข็งแรง ทั้งของพลาสติก และกระดาษ

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-184-4000

E-mail: ppsales@chemihouse.com

หรือ Add line จาก QR Code ด้านล่าง

Scroll to Top