Search
Search
Close this search box.
บรรจุภัณฑ์ ยุคใหม่,Testing Equipment, เครื่องมือวัด,Chemical House

บรรจุภัณฑ์ ยุคใหม่

ในปัจจุบันนั้น มีการคิดค้น บรรจุภัณฑ์ ต่างๆ ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คน ตลอดจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในแต่ละประเภทของบรรจุภัณฑ์ ก็จะมีจุดเด่น การนำไปใช้งาน ใน Application ที่แตกต่างออกไป ตามการออกแบบ โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงบรรจุภัณฑ์ด้วยกัน 3 แบบ

1. Eco-Friendly Packaging หรือ บรรจุภัณฑ์ที่รักษ์โลก หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

2. Smart Packaging หรือ บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ

3. Active Packaging

 

1. Eco-Friendly Packaging

 

Eco-Packaging 
Eco-Packaging 

บรรจุภัณฑ์ ที่รักษ์โลก หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตออกมาโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรและปลอดภัยต่อสิ่งอวดล้อม เป็นการเลือกใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต จากธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้ หรือสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycled)

ซึ่ง Eco-packaging นั้นสามารถบรรจุได้ทั้งของร้อนและเย็น ของเหลว และสามารถเข้าไมโครเวฟได้

วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่นำมาผลิตเป็น Eco-packaging แบ่งได้ 3 ประเภท

  1. Bio-Based คือ วัตถุดิบจากธรรมชาติ นำมาผลิตเป็น bio-plastic เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง
  2. Fiber-Based คือ วัตถุดิบที่ทำมาจากไฟเบอร์ หรือเส้นใยธรรมชาติ รวมไปถึงกากใยจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ชานอ้อย ฟางข้าวสาลี ลินิน ไม้ไผ่
  3. Biomass คือ วัตถุดิบจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ เปลือกชานอ้อย กากปาล์ม ซังข้าวโพด

 

2. Smart Packaging

Smart Packaging
Smart Packaging

บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ เป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ นวัตกรรมการควบคุม หรือปกป้องมาผสมผสานกับบรรจุภัณฑ์ เพื่อยืดอายุผลไม้ หรืออาหารในบรรจุภัณฑ์ ด้วยการใช้สารประกอบเป็นตัวควบคุมบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสกัดกั้น หรือ แพร่ก๊าซต่างๆ

ส่วนการทำงานของบรรจุภัณฑ์ชนิดนี้ คือการนำวัสดุ หรือฟิล์มที่ใช้ในการบรรจุภัณฑ์สามารถเกิดปฏิสัมพันธ์ และควบคุมบรรยากาศ กับก๊าซภายในบรรจุภัณฑ์

ในไทยนั้น จะมุ่งเน้นไปทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร และผลผลิตทางการเกษตร ซึ่ง Smart Packaging นั้นจะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าทางตลาดให้กับสินค้าได้ ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง

Smart Packaging จะเป็นการผสมผสานหลายๆเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นนาโนเทคโนโลยี พลาสติกอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำให้บรรจุภัณฑ์เหล่านี้มีราคาถูกลง เบาลง เล็กลง และทนทานมากขึ้น

 

3. Active Packaging

 

Active Packaging
Active Packaging

บรรจุภัณฑ์ซึ่ง ทำหน้าที่ ปกป้องอาหาร และขณะเดียวกันจะช่วยควบคุมสภาพบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ โดยการยอม หรือ สกัดกั้นการแพร่ของก๊าซต่างๆ ผ่านเข้า-ออกบรรจุภัณฑ์ ให้มีความเหมาะสมตามความต้องการของอาหาร หรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อยืดอายุการวางจำหน่าย (Shelf life) และรักษาคุณภาพ

โดย Active Packaging นั้น ส่วนใหญ่จะนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ อาหาร ผลผลิตทางการเกษตร ผัก ผลไม้ต่างๆ ซึ่ง ผลผลิตพวกนี้ อาจยังมีการดูดเอาก๊าซออกซิเจนเข้าไป และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และความร้อนออกมา มีการคายน้ำ ทำให้ผลผลิตสูญเสียน้ำหนัก หากไม่ได้รับการชดเชยอาหาร แร่ธาตุ และนำอย่างถูกต้อง จะก่อให้เกิดการเหี่ยว การเฉา หรือเน่าเสียได้ เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดที่ จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ส่งผลให้มีกลิ่น หรือเน่าเสียได้

 

ประเภทของ Active Packaging

  1. Oxygen Scavenging เป็นบรรจุภัณฑ์ ที่ช่วยลดปริมาณออกซิเจน เหมาะสำหรับใช้บรรจุอาหารทั่วไป รวมถึงอาหารที่ผ่านการอบ เช่น ขนมปัง เค้ก โดยจะทำให้ตัวเองทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ที่เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ เปลี่ยนสี กลิ่น และรสชาติ โดยจะใช้ผงเหล้กออกไซด์ (Iron Oxide) ซึ่งเป็นธาตุเหล็ก หรือสารประกอบเหล็ก ที่บรรจุในซองขนาดเล็ก (sachet) แล้วใส่ในบรรจุภัณฑ์ หรือ เติมในพอลิเมอร์ที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ เช่น ขวดพลาสติก ถุง Pouch
  2. Carbon Dioxide Release เป็นบรรจุภัณฑ์ ที่ช่วยเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะใช้แคลเซียมคาร์โบเนต หรือหินปูน จะทำการคายคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยลดปริมาณออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์ และคาร์บอนไดออกไซด์ที่คายออกมาจะรวมกับน้ำในอาหาร ได้เป็นกรดคาร์บอนิก ทำให้ค่า pH ที่ผิวหน้าของอาหารลดลง สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย เช่น เนื้อสด เนื้อไก่ เนื้อปลา เนยแข็ง และสตรอเบอร์รี่
  3. Humidity Control เป็นบรรจุภัณฑ์ สำหรับควบคุมความชื้น เหมาะสำหรับผลผลิตทางการเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ และดอกไม้ โดยใช้สารซิลิกาเจลเป็นตัวควบคุม ผัก ผลไม้ และดอกไม้ ไม่ให้คายน้ำออกมามากเกินไป ซึ่งจะทำให้แร่ธาตุ และสารอาหารต่างๆออกมาด้วย ซึ่งนอกจากจะทำให้สินค้ามีน้ำหนักลดลงแล้ว ยังเปปป็นการเร่งการเจริญเติบโตของเชื้อราด้วย
  4. Ethylene Scavenging เป็นบรรจถภัณฑ์ สำหรับลดปริมาณเอทิลีน เหมาะสำหรบใช้บรรจุพืชสวนต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผัก และผลไม้ ชะลอการสุกออกไป ส่วนใหญ่นิยมใช้ Potassium Permanganate เป็นสารดูดเอทิลีน
  5. Freshness Indicators เป็นตัวชี้วัดความสดของอาหาร โดยการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถจับสารที่ได้จากการย่อยสลายสารอาหาร เช่น การย่อยสลายจากจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเวื่อมเสีย (Microbial spoilage) เช่น การใช้ในบรรจุภัณฑ์ปลา เพื่อเป็นตัวบ่งชี้สารเอมีน (Amine) ในตัวปลา ซึ่งสลายตัวจากการย่อยสลายโมเลกุลโปรตีน เป็นตัวชี้วัดความสดของปลาที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ ตัวชี้วัดความสดนิยมใช้ร่วมกับบรรจุภัณฑ์ประเภท ดัดแปรสภาพบรรยากาศ (Modified atmosphere packaging)

 

จากสามประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่กล่าวมานั้น เป็นการเริ่มคิดค้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ใน Packaging ต่างๆ ยังคงสภาพ สดใหม่ สวยงามดังเดิม เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสิ้นค้า และยังมีการออกแบบเพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบันที่มีาถานการณ์โควิด-19 ก็ส่งผลให้มีการใช้ Packaging ที่มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบ หรือคิดค้น Packaging ชนิดต่างๆออกมา เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์โลก

ในการจำผลิต Packaging ต่างก่อน ก่อนนำไปขาย หรือใช้งาน ก็มีความจำเป็นต้องมีการทดสอบ ประสิทธิภาพของ Packaging ที่เราทำขึ้นมา ทั้งในด้านของเคมี ด้านความแข็งแรงทางกายภาพ เพื่อให้เหมาะกับการนำไปใช้งาน

บริษัท Chemical House นั้นเป็นตัวแทนจัดจำหน่าย เครื่องมือ เครื่องทดสอบในห้องแลปสำหรับ Packaging ทั้ง Film Packaging หรือ Paper Packaging ในด้านความแข็งแรงทางกายภาพ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ppsales@chemihouse.com

หรือ Add line ที่ QR Code ด้านล่าง

qr code

Share the Post:

Related Posts

Scroll to Top

Contact us