กระดาษทิชชู่ นั้น เป็นกระดาษที่ต้องมีความนุ่ม บางเบา และมีความสามารถในการซึมซับได้สูง ทนต่อการฉีกขาด ซึ่งคำว่าทิชชู่นั้น มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “Tissue” แปลว่าผ้า เนื่องจากกระดาษทิชชู่มีความนุ่มเหมือนผ้า ซึ่งในปัจจุบัน กระดาษทิชชู่ได้กลายเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน
กระดาษทิชชู่นั้น ก็เหมือนกับพวกกระดาษ คือผลิตมาจากเส้นใย Cellulose เป็นหลัก อาจจะใช้ Cellulose 100% หรือ อาจะมีผสมเส้นใยรีไซเคิล หรืออาจจะเป็นเส้นใยรีไซเคิล 100% ซึ่งเส้นใยรีไซเคิลหลักๆ ก็จะเป็นพวกกระดาษ Printing & Writing พวกกระดาษในสำนักงาน นำมารีไซเคิลเป็นกระดาษทิชชู่ ส่วน Cellulose หรือ Virgin Pulp นั้นมาจากกระทำกระดาษแบบ Kraft โดยใช้ทั้งเส้นใยสั้น และเส้นใยยาว แล้วแต่ Application ในการนำไปใช้งาน
ในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่จะใช้กระดาษทิชชู่รวมกันไปหมด ไม่ค่อยได้แบ่งประเภทการใช้งาน อย่างเช่น กระดาษเช็ดมือ ไปใช้ในห้องน้ำ มันส่งผลให้ ในประเทศเรานั้น ไม่สามารถนำกระดาษทิ้งลงโถชักโครกได้ ทั้งๆที่ในต่างประเทศนั้น การใช้กระดาษชำระในห้องน้ำ เค้าจะใช้การทิ้งลงชักโครกกัน เพราะ กระดาษชำระ นั้นออกแบบมาให้สามารถทิ้งลงชักโครกได้ และก็อาจจะเกี่ยวกับระบบการกำจัดพวกสิ่งปฏิกูลของประเทศเราอีกด้วย ส่งผลให้เราต้องนำกระดาษที่ใช้แล้วมาทิ้งลงถังขยะแทน ส่งผลให้มีปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นอีก นี้เป็นผลมาจากการที่เราใช้กระดาษผิดประเภท หรือการเอากระดาษชำระ มาใช้เป็นกระดาษเช็ดปาก เรื่องความนุ่ม %ของเส้นใยรีไซเคิล ต่างๆ ก็จะแตกต่างกันออก
สารบัญ
Toggleประเภทของ กระดาษทิชชู่
กระดาษทิชชู่นั้น จะแบ่งเป็น 5 ประเภทด้วยกัน คือ
1. กระดาษชำระ (Toilet Tissue)
กระดาษชำระ (Toilet Tissue)กระดาษชำระ หรือเราชอบเรียกกันว่า กระดาษเช็ดก้น เป็นประเภทกระดาษที่เราใช้กันมากที่สุด เป็นม้วนที่เรามักจะเห็นกันเป็นประจำในห้องน้ำนั้น ทำมาจาก Virgin Pulp และเส้นใยรีไซเคิล ลักษณะทั่วไปจะมี 2 ชั้น ทั้งแบบมีลวดลาย สี และขาวสะอาด ขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันตามยี่ห้อ กระดาษชำระนี้มีหน้าที่ในการนำมาชำระส่วนขับถ่ายของเรา คุณสมบัติของมันจึงต้องนุ่มพอสมควร จำนวนชั้นที่กำหนด ความทนทาน และที่สำคัญต้องย่อยสลายน้ำได้ดี (เส้นใยแยกออกจากกันได้ง่ายเมื่อถูกกระจายในน้ํา) เพราะหากมีคนทิ้งลงไปในโถส้วม หรือ ชักโครก จะได้ไม่ทำให้ท่ออุดตันนั่นเองค่ะ ซึ่งกระดาษประเภทนี้จะเป็นกระดาษที่มีคุณภาพต่ำที่สุด โดยกระดาษชำระมี 2 ประเภท
- กระดาษชำระม้วนใหญ่ เป็นกระดาษที่บางที่สุด พบในห้างสรรพสินค้า และองค์กรต่างๆ เพราะมีความบางมากจึงเป็น กระดาษประเภทที่มีราคาถูกที่สุด ซึมซับน้อย เน้นไปที่การทำความสะอาดมากกว่า
- กระดาษชำระม้วนเล็ก เนื้อสัมผัสกระดาษมีความหลากหลาย มีทั้งกระดาษเยื่อบริสุทธิ์ และกระดาษหมุนเวียนใหม่สามารถพบเห็นได้ตามบ้านเป็นส่วนใหญ่ ในประเทศไทยนั้นมีการประยุกต์กระดาษประเภทนี้ได้หลากหลายมาก ทั้งนำไปวางบนโต๊ะอาหาร หรือ ในห้องน้ำ
2.กระดาษเช็ดหน้า (Facial Tissue)
กระดาษทิชชู่สำหรับ เช็ดหน้า ต้องมีคุณสมบัติที่ นุ่ม เรียบ ซับน้ำ เนื่องจากใช้กับผิวหน้าเรา เรื่องผิวสัมผัสจึงมีความสำคัญ ส่วนใหญ่จะเป็นกระดษสองชั้น ลักษณะเป็นสีเหลี่ยม ดึงออกมาเป็นแผ่นๆ น้ำหนักต่ำสุด 28 g/m และมีค่า pH ประมาณ 5.5 – 8.5 มีหน้าที่ไว้เช็ดทำความสะอาดผิวหน้า หรือ เช็ดเครื่องสำอาง คุณสมบัติของเนื้อกระดาษจึงต้องนุ่ม สะอาด และต้องเหนียวกว่ากระดาษประเภทอื่นๆ เพราะเมื่อนำมาเช็ดหน้าจะต้องไม่ทำให้ผิวหน้าเกิดความระคายเคืองและต้องให้สัมผัสที่อ่อนโยนแก่ผิวด้วย
3. กระดาษเช็ดปาก (Table Napkin)
กระดาษเช็ดปาก เป็นกระดาษสำหรับใช้บนโต๊ะอาหาร ตามร้านอาหาร หรือภัตตาคาร ซึ่งกระดาษเช็ดปากนั้น จะต้องมีคุณสมบัติของเนื้อกระดาษจะมีความอ่อนนุ่มใกล้เคียงกระดาษเช็ดหน้า แต่ต้องเหนียวและไม่เปื่อยยุ่ยน้ำง่าย เพื่อรองรับการใช้งานในการรับประทานอาหาร ซึ่งจะมีให้เลือกตั้งแต่ 1 ชั้น จนไปถึง 4 ชั้น และอาจจะมีลวดลาย หรือสี แตกต่างไปในแต่ละยี่ห้อ
โดยกระดาษเช็ดปากมี 3 แบบ
- Dinner napkin (กระดาษเช็ดปากสำหรับอาหารเย็น) เป็นวัฒนธรรมตะวันตก เวลารับประทานอาหารจะต้องมีผ้ากัน เปื้อน แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นกระดาษแทนเพื่อความสะดวก กระดาษจะต้องหนา และคลี่แล้วไม่ต่ำกว่า 14 นิ้วขึ้นไป
- Cocktail napkin ใช้พันรอบแก้ว หรือ นำมาเช็ดปาก คลี่ออกแล้วจะประมาณ 12 นิ้ว
- Mini napkin กระดาษเช็ดปากขนาดเล็ก โดยทั่วไปมักจะพบในร้านอาหารเล็กๆ มีสีขาวและสีชมพู โดยกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกามักมีการทำกระดาษให้มีสีสัน และลวดลายต่างๆให้สวยงาม เพื่อใช้ประดับบนโต๊ะอาหาร
4. กระดาษเช็ดมือ (Hand Towel)
กระดาษเช็ดมือ ส่วนใหญ่เราจะเจอเมื่อเข้าไปใช้บริการห้องน้ำสาธารณะ โรงพยาบาล โรงแรม หรือ ห้างสรรพสินค้า เป็นกล่องติดตามผนังข้างๆอ่างล้างมือ และใช้งานโดยการดึงออกมาทำความสะอาดมือทีละแผ่น หรือ เป็นแบบชนิดกล่อง ห่อ ใช้ทำความสะอาดระหว่างวันได้เมื่อต้องการ คุณสมบัติของมันจึงต้องมีความเหนียว ความหนา ไม่เปื่อยยุ่ย หรือ ขาดง่ายเมื่อสัมผัสน้ำและซึมซับได้ดี เพราะบางที่ที่เราเจอเอากระดาษชนิดอื่น เช่น กระดาษชำระ (Toilet Tissue) มาใช้เป็นกระดาษเช็ดมือ เวลาเราล้างมือเสน็จไปดึงกระดาษ ก็จะทำให้กระดาษขาดได้ง่าย ดึงไม่ออก เพราะยุ่ย หรือขาดก่อน เพราะเราใช้งานกระดาษผิดประเภทนั้นเอง ซึ่งกระดาษประเภทนี้จะไม่เน้นที่ความนุ่ม เพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้งานที่แข็งแรงและรวดเร็วในการล้างมือทุกครั้ง
5. กระดาษอเนกประสงค์ (Kitchen towel)
กระดาษอเนกประสงค์ เป็นกระดาษที่จะใช้งานในครัวเป็นส่วนใหญ่เพื่อใช้เช็ดสิ่งสกปรกต่างๆ หรือ ซับน้ำมันจากการทอด เป็นต้น กระดาษอเนกประสงค์นั้นส่วนใหญ่นิยมทำมาจากเยื่อบริสุทธิ์ 100 % แต่กระบวนการฟอกสีขาวอาจต่างกัน ลักษณะจะเหมือนกับกระดาษชำระ 2 ม้วนต่อกัน มีทั้งสีขาวสะอาด และ สีน้ำตาล กระดาษสีน้ำตาลจะเป็นกระดาษที่ไม่ผ่านการฟอกสีขาวจึงทำให้เป็นสีน้ำตาล ขุ่น คุณสมบัติของกระดาษอเนกประสงค์จะหนา และ เนื้อกระดาษจะต้องทำมาจากเยื่อกระดาษที่ผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาดกว่ากระดาษชำระ เพื่อให้มั่นใจว่าเวลาดูดซับความมันหรือทำความสะอาดจากการทำอาหารจะสะอาดและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และเหตุผลที่ต้องใช้ Virgin Pulp 100% เพราะเป็นกระดาษที่ใช้กับพวกอาหาร (Food Grade)
คุณสมบัติของกระดาษทิชชู่ (Properties of Tissue Paper)
การดูดซับ (Absorbency) และความนุ่ม (Softness) จะเป็นคุณสมบัติหลักของกระดาษทิชชู่ ซึ่งคุณสมบัติเหล่าเป็นผลมาจากพวก ความเป็นรูพรุน (Porosity) ความย่นของผิวหน้า (Creping) และการออกแบบตกแต่งกระดาษ
โดยค่า Porosity นั้นจะแปรผกผันกับความหนาแน่น (Density) ยิ่งถ้ามีความหนานแน่นต่ำ ก็จะมีค่าความพรุนสูง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านการดูดซับ และความนุ่มที่ดีขึ้น
คุณสมบัติอื่นๆ คือ ชนิดของเส้นใย กระบวนการผลิต ความเหนียว ความคงตัว (Stiffness) ความฟู (Bulkiness) การใส่สารเติมแต่ง ความแข็งแรงขณะเปียก (Wet Strength) ความหนา (Thickness) เป็นต้น คุณสมบัติพวกนี้ จะต้องการมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับ Application ที่จะนำไปใช้งาน
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของกระดาษทิชชู่ นั้นก็คือ การดูดซับ (Absorbency) ซึ่งส่งผลโดยตรงกับความนุ่ม การย่น หรือความฟู โดยปกตินั้นตัวโมเลกุลของ cellulose นั้นจะมีหมู่ไฮดรอกซิล ซึ่งจะทำให้เกิดพันธะไฮโดรเจนกับน้ำ นี้จึงเป็นสาเหตุหลักว่าทำไมกระดาษจึงดูดซับน้ำ แและยังมีช่องว่างขนาดเล็กๆในระหว่างพันธะของเส้นใยด้วย ซึ่งจะทำให้ดูดซับน้ำได้
ความนุ่ม (Softness) โดยความนุ่มนั้นจะปรับได้โดยการ refining เส้นใยให้อยู่ที่ช่วงที่เราต้องการ และจะรวมถึงความเรียบของผิวหน้าด้วย (Surface smoothness) ความฟู (Bulk) และความคงรูป (Stiffness) ถ้าเส้นใยนั้นมีการแตกตัว หรือแตกแขนงที่ดี จะส่งให้มีพื้นผิวที่มากขึ้น และสามารถดูดซับได้ดีขึ้น
จากคุณสมบัติของกระดาษทิชชู่ที่พูดมานั้น จึงจำเป็นต้องมีการทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการดูดซับน้ำ ความแข็งแรงในการดึงขณะเปียก ความนุ่ม ความเป็นรูพรุน หรือความสะอาดของกระดาษเราผลิต ซึ่งทาง Chemical House นั้น เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือ เครื่องทดสอบ สำหรับในอุตสาหกรรม เยื่อและกระดาษ รวมถึง กระดาษทิชชู่ด้วย โดยเราเป็นตัวแทนของทั้งแบรนท์ KRK จากญี่ปุ่น, Thwing Albert จากอเมริกา หรือ Frank PTI จาก เยอรมัน และอื่นๆ
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ppsales@chemihouse.com
สอบถาม Line OA หรือ Add line จาก QR Code ด้านล่าง