Search
Search
Close this search box.

การทดสอบความหนา ของวัสดุ (Thickness of Material)

การทดสอบความหนา (Thickness) ของวัสดุ (Material) พวกวัสดุลักษณะแบบแผ่น (Sheet Material) เช่น กระดาษ กล่องลูกฟูก ทิชชู่ พลาสติกฟิล์ม ผ้า Nonwoven และอื่นๆ สามารถใช้ เครื่องวัดความหนา เพื่อทำการทดสอบความหนาของวัสดุได้

  • การทดสอบความหนา ของกระดาษ (Paper) กล่องลูกฟูก (Paperboard) และทิชชู่ (Tissue) คือ เป็นการวัดระยะห่างระหว่างสองพื้นผิวที่ขนานกันของกระดาษ วัดในหน่วยไมโครเมตร (μm) หรือมิลลิเมตร (mm) ความหนาของกระดาษเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพ และลักษณะการใช้งานที่สำคัญ เช่น ความทนทาน ความสามารถในการพิมพ์ และการพับ
  • การทดสอบความหนาของพลาสติกฟิล์ม (Plastic film) เป็นกระบวนการสำคัญที่ใช้ในการประเมินคุณภาพ และความสม่ำเสมอของฟิล์มพลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ การห่อสินค้า หรือการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การทดสอบนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าฟิล์มมีความหนาที่เหมาะสม และสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น

ความสำคัญของการทดสอบความหนาของกระดาษ (Paper)

  1. ควบคุมคุณภาพ: การทดสอบความหนา ช่วยในการควบคุมคุณภาพของกระดาษ ในกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและสม่ำเสมอ
  2. การเลือกใช้: ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้กระดาษ ที่มีความหนาเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การพิมพ์ การเขียน หรือการทำบรรจุภัณฑ์
  3. การวิจัยและพัฒนา: ใช้ในการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติพิเศษตามที่ต้องการ

การทดสอบความหนาของกระดาษเป็นกระบวนการที่สำคัญในการประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของกระดาษสำหรับการใช้งานต่างๆ โดยต้องทำอย่างระมัดระวังและใช้เครื่องมือที่มีความแม่นยำสูงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

ความสำคัญของการทดสอบความหนาของพลาสติกฟิล์ม (Plastic Film)

1. คุณสมบัติทางกายภาพ

  • ความแข็งแรง: พลาสติกฟิล์มที่มีความหนามากกว่า จะมีความแข็งแรงและทนทานมากกว่า ซึ่งสำคัญสำหรับการใช้งานที่ต้องการความทนทานสูง เช่น การห่อสินค้าที่หนัก หรือมีขอบคม
  • ความยืดหยุ่น: ฟิล์มที่บางมักมีความยืดหยุ่นสูงกว่า ซึ่งอาจเหมาะสมสำหรับการใช้งานที่ต้องการการห่อหุ้มแบบยืดหยุ่น

2. การใช้งาน

  • การป้องกัน: ฟิล์มที่หนาสามารถป้องกันสินค้าจากความเสียหาย การฉีกขาด หรือการเจาะทะลุได้ดีกว่า เช่น ฟิล์มห่ออาหารที่ต้องป้องกันการรั่วซึมของของเหลว
  • การปิดผนึก: ความหนาที่เหมาะสมช่วยให้การปิดผนึก (sealing) ทำได้ดีขึ้น ลดปัญหาการรั่วซึมและการเปิดออกของบรรจุภัณฑ์

3. การควบคุมคุณภาพ

  • ความสม่ำเสมอ: การตรวจสอบความหนาช่วยให้มั่นใจได้ว่าฟิล์มมีความหนาสม่ำเสมอตลอดแผ่น ซึ่งสำคัญในการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเท่ากันทุกแผ่น
  • การตรวจสอบข้อบกพร่อง: การทดสอบความหนาช่วยในการตรวจสอบข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เช่น บริเวณที่บางเกินไปหรือหนาเกินไป

4. การปฏิบัติตามมาตรฐาน

  • มาตรฐานอุตสาหกรรม: หลายอุตสาหกรรมมีมาตรฐานที่กำหนดความหนาของฟิล์มพลาสติก การทดสอบความหนาช่วยให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านั้น
  • ความปลอดภัย: การใช้ฟิล์มที่มีความหนาตามมาตรฐานช่วยให้มั่นใจได้ว่าสินค้าจะได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

5. ต้นทุนและการประหยัดทรัพยากร

  • การคำนวณต้นทุน: ความหนาของฟิล์มมีผลต่อปริมาณวัสดุที่ใช้และต้นทุนการผลิต การเลือกความหนาที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
  • การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ: การผลิตฟิล์มที่มีความหนาเกินจำเป็นอาจเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร การเลือกความหนาที่เหมาะสมช่วยให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

6. ประสิทธิภาพการใช้งาน

  • ความสะดวกในการใช้งาน: ความหนาที่เหมาะสมทำให้ฟิล์มใช้งานได้ง่าย ไม่ขาดหรือแตกหักง่าย และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การพิมพ์และการตกแต่ง: ฟิล์มที่มีความหนาเหมาะสมช่วยให้การพิมพ์ หรือการตกแต่งบนฟิล์มทำได้ดีและชัดเจน

ความหนาของพลาสติกฟิล์มเป็นปัจจัยที่มีผลต่อหลายด้านของการผลิต และการใช้งาน การควบคุม และทดสอบความหนาอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญในการประกันคุณภาพ และความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์

วิธีการทดสอบความหนา

เราสามารถใช้ เครื่องมือวัด เพื่อวัดความหนาของวัสดุที่เราต้องการ ได้โดยตัวอย่างเครื่องมือต่อไปนี้

เครื่องวัดความหนา,Micrometer
Micrometer

1. ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)

    • เครื่องมือ: ไมโครมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดที่แม่นยำสูง มีสกรูละเอียดสำหรับปรับระยะห่างระหว่างแผ่นวัดและแผ่นยึด
เครื่องวัดความหนา,Thickness Gauge
Thickness Gauge

2. เครื่องวัดความหนา (Thickness Gauge)

    • เครื่องมือ: เครื่องวัดความหนาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความหนาของวัสดุต่างๆ รวมถึงกระดาษ โดยใช้หลักการเดียวกับไมโครมิเตอร์
เครื่องวัดความหนา,Thickness Tester
Thickness Tester

 

3. เครื่องวัดความหนาแบบดิจิทัล (Digital Thickness Gauge)

      • เครื่องมือ: เครื่องวัดความหนาแบบดิจิทัลมีความแม่นยำสูง และสามารถอ่านค่าได้โดยตรงจากหน้าจอดิจิทัล

 

ความแตกต่างในแต่ละวิธีการทดสอบ

ความแตกต่างในแต่ละวิธีการทดสอบ คือ ความละเอียด และความถูกต้องในการทดสอบ และอ่านค่า ซึ่งในสองวิธีแรก การใช้ Micrometer และ Thickness Gauge จะสามารถอ่านค่าความหนาได้ แต่เนื่องจากเป็นการทดสอบแบบ Manual คือต้องใช้แรงจากคนทดสอบมาทำการกดลงตัวอย่าง หรือแรงที่กดลงมาที่ตัวอย่างไม่สามารถกำหนดได้ และทำการอ่านค่าความหนา ซึ่งอาจเกิด Human Error เกิดขึ้นได้ ทำให้ผลการทดสอบไม่คงที่ และไม่เป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด เนื่องจากมาตรฐานการทดสอบความหนา ในแต่ละวัสดุมีข้อกำหนดในเรื่องของ แรงในการกดทดสอบ ขนาดของหัวกดทดสอบ

ถ้าต้องการทดสอบตามข้อกำหนดในมาตรฐานสากล เช่น ASTM ISO หรือ TAPPI จำเป็นต้องใช้การทดสอบความหนา แบบ Digital Thickness Gauge หรือเครื่องวัดความหนาแบบตั้งโต๊ะ ซึ่งสามารถเลือกแรงในการกด และขนาดของหัวกดตามที่มาตรฐานกำหนดได้

ข้อกำหนดของแต่ละมาตรฐาน

No. Standard Material Pressure Contact area Foot diameter
1 TAPPI T411 Paper
Paperboard
Combined board
50 ± 2 kPa 200 ± 5 mm2 16 ± 0.15 mm
2 ISO 534 Paper
Board (single sheet thickness)
100 ± 10 kPa
50 ± 5 kPa
200 mm2 16 ± 0.5 mm
3 ISO 12625-3 Tissue 2 ± 0.1 kPa 100 mm2 35.7 ± 0.1 mm
4 ASTM D6988 Plastic film 160 – 185 kPa N/A 3.2 – 12.7 mm

โดยทางบริษัท Chemical House and Lab Instrument เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือ เครื่องวัดความหนา (Thickness Tester) แบบตั้งโต๊ะ ของยี่ห้อ Thwing Albert  รุ่น ProGage Touch

เครื่องวัดความหนา ของ Thwing Albert ได้มีการออกรุ่นใหม่ คือ ProGage Touch มาเมื่อปลายปี 2023 ซึ่งเป็นหน้าจอ Touch Screen และสามารถเลือก แรงในกดการทดสอบ (Pressure Foot) และขนาดของหัวทดสอบ (Foot Diameter) ตามที่มาตรฐานสากลกำหนด และสามารถ Customize แรงในการกด และขนาดของหัวทดสอบได้เอง

ซึ่งใน 1 เครื่องทดสอบของ ProGage Touch Screen สามารถเลือกแรงในการกดทดสอบ (Pressure Foot) และขนาดของหัวทดสอบ (Foot Diameter) ได้หลายขนาดตามที่ต้องการทดสอบ เช่น ต้องการทดสอบทั้งกระดาษ และทิชชู่ในเครื่องเดียวกัน ก็สามารถเปลี่ยน Pressure Foot และ Foot diameter ได้ง่าย

ความแตกต่างระหว่างเครื่อง ProGage Thickness Tester รุ่นเก่า และรุ่นใหม่

เครื่องวัดความหนา

Model New model: ProGage Touch Old model: ProGage
Display Touch Screen LCD
Minimum Dead Weight 50 grams 114 grams
Dwell Time 0 – 20 s 0 – 9.9 s
Software DAS / /
Software MAP4 / X
Interactive System-Aided Calibration / X
USB Interface / X
USB Flash Drive / X
Export test data and report to CSV / X
Calibration reminder / X
Digital Leveling Screen / X
Password Protection / X

ทางบริษัท Chemical House เป็นตัวแทนจำหน่าย เครื่องมือวัด เครื่องมือทดสอบ  ในห้องปฏิบัติการ ในอุตสาหกรรม Pulp, Paper หรือ Flexible Packaging เช่น เครื่อง Thickness tester, Tear Tester, Tensile Tester, COF เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ppsales@chemihouse.com

หรือ Line OA จาก QR Code ด้านล่าง

Share the Post:

Related Posts

Scroll to Top

Contact us