การทดสอบกระดาษตามมาตรฐาน มอก

ในการผลิตกระดาษ Kraft Paper (กระดาษเหนียว)  สำหรับในประเทศไทยนั้น ก็ต้องมี การทดสอบกระดาษตามมาตรฐาน มอก กำหนดไว้ในแต่ละชนิดของกระดาษ เพื่อที่จะเป็นมาตรฐานของกระดาษนั้น และทำให้ง่ายต่อการซื้อขาย โดยส่วนมากในประเทศไทยนั้นก็จะผลิต Kraft Paper เพื่อนำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ในแบบต่างๆ

สำหรับ Kraft Paper นั้นจะอ้างอิงตามมาตรฐาน มอก 170-2559

Kraft Paper หรือ กระดาษเหนียว หมายถึง กระดาษที่มีความแข็งแรง และมีคุณสมบัติเหมาะสำหรับ ทำกระดาษห่อของ กระดาษถุง และกระดาษลูกฟูก

โดยใน มอก 170-2559 นั้นจะทำการแบ่งประเภทของ Kraft Paper ไว้ 4 ประเภท ด้วยกันคือ

  1. กระดาษห่อของ (wrapping paper) เหมาะสำหรับห่อของ
  2. กระดาษถุงชั้นเดียว (shopping bag paper) เหมาะสำหรับใช้ทำถุงกระดาษทั่วไป
  3. กระดาษถุงหลายชั้น (multiwall sack paper) เหมาะสำหรับทำถุงที่ใช้รับน้ำหนักหรือรับแรงกระทำได้สูง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดยืด(ชั้นคุณภาพ 1 และชั้นคุณภาพ 2) กับชนิดไม่ยืด
  4. กระดาษผิวกล่อง (liner board) เหมาะสำหรับทำผิวแผ่นกระดาษลูกฟูก แบ่งเป็น ชั้นคุณภาพ 1 และชั้นคุณภาพ
คุณลักษณะของกระดาษที่จะนำมาทดสอบ ต้องไม่มีตำหนิ เช่น ฉีกขาก ยับ เปื้อน หรือเป็นรู และต้องมีรอยต่อของในม้วนไม่เกิน 3 รอยต่อ และต้องทำสัญลักษณะบริเวณรอยต่อให้ชัดเจน
กระดาษแต่ละประเภทนั้นก็ต้องมีการทดสอบความแข็งแรงที่แตกต่างกันออกไป คือ

1. กระดาษห่อของ (wrapping paper) และ กระดาษถุงชั้นเดียว (shopping bag paper)

1.1 Basic Weight หรือ มวลมาตรฐาน ตามมาตรฐาน ISO 536
1.2 Moisture content หรือ ปริมาณความชื้น ตามมาตรฐาน ISO 287
1.3  Cobb Test หรือ การดูดซึมน้ำ ด้านตะแกรง (Wire side) ตามมาตรฐาน ISO 535
1.4 Tear Test หรือ ความต้านทานแรงฉีกขาด ตามมาตรฐาน ISO 1974
1.5 Burst Test หรือ ความต้านทานแรงดันทะลุ ตามมาตรฐาน ISO 2758
1.6 Tensile Test หรือ ความต้านทานแรงดึง ตามมาตรฐาน  ISO 1924-2

2. กระดาษถุงหลายชั้น (multiwall sack paper)

2.1 Basic Weight หรือ มวลมาตรฐาน ตามมาตรฐาน ISO 536
2.2 Moisture content หรือ ปริมาณความชื้น ตามมาตรฐาน ISO 287
2.3  Cobb Test หรือ การดูดซึมน้ำ ด้านตะแกรง (Wire side) ตามมาตรฐาน ISO 535
2.4 Tear Test หรือ ความต้านทานแรงฉีกขาด ตามมาตรฐาน ISO 1974
2.5 Air Permeance (Bendtsen Method) หรือ การซึมผ่านของอากาศ ตามมาตรฐาน ISO 5636-3
2.6 TEA (Tensile Energy Absorption) ทดสอบทั้งในแนว MD (Machine direct) และ CD (Cross machine direct) ตามมาตรฐาน  ISO 1924-2
2.7 Elongation หรือ ความยืด ทดสอบทั้งในแนว MD (Machine direct) และ CD (Cross machine direct) ตามมาตรฐาน ISO1924-2

3. กระดาษผิวกล่อง (liner board)

3.1 Basic Weight หรือ มวลมาตรฐาน ตามมาตรฐาน ISO 536
3.2 Moisture content หรือ ปริมาณความชื้น ตามมาตรฐาน ISO 287
3.3  Cobb Test หรือ การดูดซึมน้ำ ทั้งด้านตะแกรง (Wire side) และด้านสักหลาด (Felt side) ตามมาตรฐาน ISO 535
3.4 RCT Test (Ring Crush test) หรือ ความต้านทานแรงกดวงแหวน ในแนว CD ตามมาตรฐาน ISO 12192
3.5 Burst Test หรือ ความต้านทานแรงดันทะลุ ตามมาตรฐาน ISO 2759
เครื่องมือทดสอบกระดาษ
โดยการที่เราจะทำ การทดสอบกระดาษตามมาตรฐาน มอก นั้น ก็ต้องเครื่องมือทดสอบตามมาตรฐาน ISO ตามที่กำหนดมาด้วย ซึ่งทาง Chemical House นั้น เป็นตัวแทนจำหน่าย เครื่องมือทดสอบ ด้านเยื่อ และกระดาษ ซึ่งมีเครื่องสำหรับทดสอบตามมาตรฐาน มอก กระดาษ ครบทุกมาตรฐาน ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น เครื่อง Burst Tester, Tensile Tester, Cobb Tester, Crush Tester etc..
Chemical House นั้นเป็นตัวแทนจำหน่ายหลากหลาย brand มีทั้ง USA, Europe, Japan and China ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าอยากได้ของ brand ไหน เช่น Thwing AlbertKRK, Frank PTI เป็นต้น
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ppsales@chemihouse.com หรือ โทร 02-184-4000 หรือ Add line ตาม QC code ด้านล่าง