ผลกระทบ ขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน

สถานการณ์ปัจจุบัน จากสงครามใน ยูเครน ระหว่างความ ขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ในมุมมอง ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สถานการณ์ ที่เกิดขึ้น ไม่น่าจะเป็นสถานการณ์ที่ลากยาว เพราะ ความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ ที่มีโรคระบาด โควิด – 19 ก็คงไม่มีใครอยากให้ สถานการณ์ยืดยาว

ปัจจัยปัญหาระหว่าง ขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้ราคาน้ำมัน มีการปรับตัว อย่างผันผวน ทั้งด้าน ตลาดหุ้น ราคาน้ำมันตลาดโลก พุ่งสูงขึ้น น้ำมันดิบอย่าง น้ำมันดิบเบรนท์ ก็มีราคาสูงขึ้นถึง 100 เหรียญสหรัฐ / บาร์เรล ทำให้ต้นทุน ทางการค้า รวมถึง ค่าครองชีพ อาจมีค่าสูงขึ้น อีกด้วย

จากปัญหา ความขัดแย้งดังกล่าว ทาง สหภาพยุโรป ( EU ) ได้ประกาศ มาตรการคว่ำบาส รัสเซีย เพื่อเป็นมาตรการลงโทษต่าง ๆ ต่อ รัสเซีย โดยมุ่งไปที่เจ้าหน้าที่ ระดับสูงของรัสเซีย และ ธนาคารบางแห่ง ที่ให้การสนับสนุน กองทัพรัสเซีย เพื่อไม่ให้รัสเซีย สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนใน EU ได้

โดย หลังจากที่ได้มีการคว่ำบาตร จาก หลายประเทศ ในชาติตะวันตกแล้ว เยอรมัน ได้มีการสั่งระงับท่อก๊าซ ส่งผลกระทบ ด้านสินค้าพลังงาน เชื้อเพลิง เช่น ก๊าซ ธรรมชาติ โดยรัสเซีย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการผลิต และ ส่งออกน้ำมัน กับ ก๊าซธรรมชาติรายใหญ่รายหนึ่งของโลก

เมื่อน้ำมันขาดแคลน จะทำให้ราคาของ พลังงานเชื้อเพลิงในตลาดโลกปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ตลาดเอเซียดิ่งลง ขณะที่ ราคาน้ำมันพรุ่งพรวด เพิ่มความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อ และ ความเสี่ยงต่อการเติบโตต่อเศรษฐกิจ และ อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยระดับต้น ๆ ในภาวะเศรษฐกิจไทย กำลังฟื้นตัว ในขณะที่ไทย ยังเผชิญเงินเฟ้อ ที่ปรับตัวสูง และยังประสบกับราคาน้ำมัน ที่มีการปรับตัวอย่างผันผวนเพิ่มมากขึ้น

แม้ว่าประเทศไทย จะไม่ดีรับผลกระทบโดยตรง จากการนำเข้าด้านพลังงาน ทั้งพลังงาน และ LNG ( Liquefied Natural Gas ) เนื่องจาก น้ำมันดิบส่วนใหญ่ จะนำเข้าจากตะวันตกออกกลาง ส่วนที่นำเข้าจากรัสเซีย คิดเป็นประมาณร้อยละ 3 เท่านั้น แต่กระทรวงพลังงาน ยังคงติดตามอย่างใกล้ชิด ประเทศไทย มีการสำรองน้ำมันไว้อยู่ด้วย ซึ่งคาดว่า ยังสามารถใช้นานกว่าสองเดือน และ LPG สำหรับใช้ในครัวเรือน จะใช้ได้อีกประมาณ 16 วัน

แม้ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้พลังงานขาดแคลน ทั้งเรื่องเงินเฟ้อ ที่อาจทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น แต่อาจเป็นแค่ช่วงเวลาหนึ่ง ระยะสั้น ๆ เท่านั้น  เพราะกลไกทางตลาด ก็จะช่วยให้ราคาน้ำมันลดลง และ ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอย่าง OPEC จะช่วยทำให้สถานการณ์คลี่คลายลง จากการเพิ่มกำลังการผลิต ให้ได้มากขึ้น เพื่อสร้างสมดุลให้กับตลาดโลกนั่นเอง

 

ขอบคุณข้อมูล และรูปภาพจาก : www.moneybuffalo.in.th/rate/oil-price

www.ryt9.com/s/iq37/3300343 และ ข่าวไทยรัฐออนไลน์