ทิศทางการใช้กระดาษ

ทิศทางการใช้กระดาษ

ทิศทางการใช้กระดาษ ในปัจจุบันนั้น คนส่วนใหญ่ จะหันมา ใส่ใจ สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติมากขึ้น โดยพยายามที่จะลดการใช้งาน พวกพลาสติก หรือพยายามที่จะคิดค้น พลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้เร็วขึ้น กว่าพลาสติกกชนิดทั่วไป เช่น Biodegradable, Bioplastic หรืออาจจะเปลี่ยนจากการใช้พวกวัสดุที่เป็นพลาสติกมาเป็นวัสดุที่ทำมาจากกระดาษเลย เนื่องจากแม้ว่าจะมีการใช้พวก Biodegradable หรือ Bioplastic ก็ยังคงไม่ค่อยตอบโจทย์ในเรื่องของธรรมชาติ หรือขยะที่เกิดขึ้น ได้ 100% ทำให้หันกลับมาใช้วัสดุที่เป็นกระดาษแทน

การเปลี่ยนมาใช้กระดาษแทนพลาสติก อย่างเช่น พวกบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่เคยใช้พลาสติกในการห่อหุ้ม หรือบรรจุสินค้า ก็เปลี่ยนมาเป็นใช้ถุง หรือซองกระดาษแทน หรืออาจจะเป็นการพกถุงผ้าแทนการรับถุงพลาสติก เพื่อลดการเกิดขยะตามที่ประเทศไทยเราเริ่มทำกัน  ตอนนี้ที่เริ่มมีการคิดที่จะเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมคือขวดน้ำ จากขวดน้ำพลาสติกมาเป็น ขวดกระดาษ ซึ่งโดนปกติ พวกขวดที่ทำจากกระดาษนั้น ด้านในก็จะมีชั้นของ Film Polymer เพื่อให้สามารถรองรับของเหลวได้ แต่ในปัจจุบันการพยายามคิดค้นโดยใช้วิธีการพ่นเคลือบผิว (Spray coating) ด้านในแทน หรืออาจะเป็น Film Polymer แบบ Recycled หรือเป็น Film ที่ทำมาจากวัสดุชีวภาพ หรือในอีกแง่หนึ่งคือ ถ้าเลี่ยงส่วนที่ต้องใช้พลาสติกไม่ได้ ก็ให้พยายามที่จะใช้พลาสติกที่มาจากการรีไซเคิล

เหตุผลที่หันมาใช้กระดาษ แทนพลาสติกนั้น หลักๆก็จะเป็นเรื่องการย่อยสลาย และการนำมารีไซเคิล เนื่องจากพวกพลาสติกนั้นใช้เวลาย่อยสลายที่นาน และการนำมารีไซเคิลนั้น ค่อนข้างทำได้ลำบากกว่า กระดาษ  เนื่องจากพวกพลาสติกนั้นมีการ Laminate ซึ่งทำให้การแยกชนิด Film plastic นั้นลำบาก  ส่วนในกระดาษนั้น จะมีขั้นตอนการรีไซเคิลที่ง่ายกว่าพลาสติก แม้บางอย่างอาจจะมีการเคลือบผิวหน้ามา โดยการรีไซเคิลกระดาษนั้น จะมีการแยกประเถทของกระดาษ ที่จะนำมารีไซเคิลด้วย เช่น

  • กระดาษพิมพ์เขียน (Printing & Writing)
  • กระดาษนิตยสาร (Old Magazine)
  • กระดาษหนังสือพิมพ์ (Newspaper)
  • กระดาษลอนลูกฟูก (Old corrugated, OCC) เป็นต้น

ซึ่งแต่ละประเภทของกระดาษรีไซเคิลก็จะมีกระบวนการนำไปรีไซเคิล (Recycled paper process) ที่แตกต่างกันในบางขั้นตอน โดยขั้นตอนการรีไซเคิลหลักๆจะมีดังนี้

Recycled Paper Process
  1. ขั้นตอนการกระจายเยื่อ ( Pulping) : เป็นขั้นตอนการนำกระดาษรีไซเคิลมาผสมกับน้ำ และทำการตีกระจาย จากกระดาษกลายเป็นน้ำเยื่อ โดยใช้ Pulper
  2. การคัดแยกขนาด ( Screening) : เป็นการคัดแยกขนาดของเส้นใยออกมามีทั้งในส่วนของ Short, Medium และ Long fiber และเป็นการคัดแยกขยะ หรือสิ่งสกปรกที่อยู่ในเยื่อกระดาษด้วย
  3. การทำความสะอาด ( Cleaning) : เป็นการทำความสะอาดโดยใช้แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal cleaner)
  4. การกำจัดหมึกพิมพ์ ( Flotation) : เป็นขั้นตอนสำหรับกระดาษพวก Printing & Writing หรือ Magazine ในการกำจัดหมึกออก โดยใช้วิธีการให้ฟองอากาศไปแยกระหว่างหมึกพิมพ์ กับเส้นใย และลอยขึ้นมาอยู่ด้านบน โดยจะมีการใส่สารพวก Collector โดยเมื่อลอยอยู่ด้านบนก็จะสามารถทำการปาดออกได้ง่าย
  5. การล้างเยื่อ ( Washing) : การล้างเยื่อเพื่อแยกสิ่งสกปรกที่แขวนลอยอยู่ในน้ำเยื่อออก
  6. Dispersion : การให้ Steam เพื่อให้พวกสารเหนียว (Sticky) อ่อนตัวลง และทำการกระจายให้มีอนุภาคที่เล็กลง ทำให้เมื่อนำไปฟอร์มแผ่นแล้วมองเห็นได้ยาก

ขั้นตอนที่พูดมาขั้นต้นเป็นขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อ (Stock Preparation) เมื่อทำการเตรียมน้ำเยื่อเสร็จก็จะเข้าสู่กระบวนการขึ้นรูปกระดาษ ( Sheet formation) โดยขั้นตอนมีดังนี้

  1. Wire Section : เป็นการขึ้นรูปแผ่นกระดาษ โดยการใส่น้ำเยื่อลงไปบนลวดเดินแผ่น เพื่อทำการแยกน้ำกับเส้นใยออกจากกัน และเกิดการประสารกันของเส้นใย
  2. Press Section : การกดรีดแผ่น เพื่อให้กระดาษสานตัวกันแน่นขึ้น และการกดรีดน้ำออก โดยในขั้นตอนนี้จะมี 2 หรือ 3 ขั้นตอนการกดรีดก็ได้ แล้วแต่กระบวนการผลิตกระดาษชนิดนั้นๆ
  3. Before Dryer : การอบกระดาษ โดยจะเป็นการอบประมาณ 4-5 ครั้ง โดยจะเริ่มตั้งแต่อุณหภูมิต่ำ ไปจนถึงสูง เพื่อให้กระดาษค่อยๆแห้ง
  4. Size press : การเคลือบกระดาษ ด้วยน้ำแป้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความแข็งแรงของกระดาษ และป้องกันการซึมน้ำของกระดาษ
  5. After Dryer : การอบกระดาษหลังจากการเคลือบ
  6. Calender : การขัดผิวหน้าของกระดาษ เพื่อให้กระดาษมีความเรียบมากขึ้น หรือบางครั้งอาจเป็นการขัดเพื่อเพิ่มความมันวาวของกระดาษ

เมื่อจบขั้นตอนดังที่กล่าวมาข้าวต้นแล้ว ก็จะได้เป็นม้วนกระดาษขนาดใหญ่ ไปทำการตัดตามขนาดที่ลูกค้าต้องการ และนำไปแปรรูปตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะทำเป็นกล่องกระดาษ ถุงกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน เป็นต้น

Pulp Instrument

ในการผลิตกระดาษแต่ละครั้ง ก็ต้องมีการคิดสูตรเยื่อขึ้นมา ว่าต้องใช้กระดาษอะไร สารเคมีอะไร ใช้เท่าไร ก่อนที่จะนำไปผลิตจริง โรงกระดาษจึงจำเป็นต้องมีเครื่อง ที่สามารถจำลองการผลิตกระดาษขึ้นมาได้ ในขนาดของ Lab Scale โดยทาง CH นั้นเป็นตัวแทนจำหน่าย เครื่องมือ เครื่องทดสอบ ในด้านของเยื่อและกระดาษ (Pulp Instrument) โดยจะมีทั้งแบรนท์จีน อเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่น เช่น KRK, Frank PTI, Regmed เป็นต้น

ซึ่งจะมีตั้งแต่เครื่องต้มเยื่อ (Digester), Flotator, Disintegrator (กระจายเยื่อ), Beater (บดเยื่อ) Sheet former (เครื่องขึ้นรูปแผ่น), Freeness (วัดความเป็นอิสระของน้ำ), Sheet Press (กดรีดกระดาษ), Dryer (Rotary, speed dryer) เป็นต้น และมีเครื่องด้านการทดสอบความแข็งแรงของกระดาษอีกด้วย

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ppsales@chemihouse.com หรือ โทร 02-184-400 (Auto line)

Scroll to Top