น้ำมันเครื่องบิน จากสาหร่าย

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ในสาหร่ายมีน้ำมันอยู่ข้างในเซลล์ของสาหร่ายมากมาย หากนำ สาหร่าย ไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบว่ามี “ไขมัน” อยู่ ดังนั้น จึงสามารถนำสาหร่ายมาเพื่อแยกน้ำมันออก เป็น “น้ำมันสาหร่าย” เป็นพลังงานทางเลือกที่สามารถทดแทนพลังงานฟอสซิล ซึ่งปัจจุบันประเทศญี่ปุ่น ได้มีการวิจัยแปรรูปสาหร่ายเป็น น้ำมันเครื่องบิน

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา รายงานจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ จากโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น  ทางคณะกระทรวงทางการเกษตร ได้มีการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ที่บริษัท ชิโตเซะ (Chitose) เมืองคาวาซากิ (Kawasaki) จังหวัดคานางาวะ (Kanagawa-ken)

โดย ทางฝ่ายปฏิบัติการของ Chitose ได้ให้การต้อนรับ และได้มีการนำเสนอการวิจัย นวัตกรรมใหม่ของทางญี่ปุ่น เกี่ยวกับการวิจัย พัฒนาสาหร่าย แปรรูปสาหร่ายเป็น น้ำมันเครื่องบิน และได้พานำชม ห้องแล็ปปฏิบัติการ ผลิตสาหร่ายในระบบปิด

“ สาหร่าย ”

เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ เพราะเลี้ยงง่าย โตไว ให้ผลผลิตเร็ว มีน้ำมันและโปรตีนสูง รวมทั้งมีกรดอะมิโน (Amino acid) หลายชนิดที่มีคุณค่าทางสารอาหาร อย่างเช่น สาหร่ายทะเล  มีแร่ธาตุซึ่งร่างกายมนุษย์ต้องการครบถ้วนแร่ธาตุ ซึ่งต้องการมีอยู่ 18 ชนิด อาทิ แคลเซียม คลอรีน โครเมียม โคบอลต์ ทองแดง (คอปเปอร์) ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม ซีลีเนียม โซเดียม ซัลเฟอร์ วาเนเดียม และสังกะสี (ซิงค์) เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีคุณประโยชน์มาก

“สาหร่าย” นอกจากจะเหมาะกับการนำมาเป็นอาหารทางเลือกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารคน อาหารสัตว์ เครื่องสำอาง อาหารเสริม ปุ๋ย และอื่น ๆ อีกมาก สาหร่าย ยังสามารถนำมาแปรรูป เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพได้

 

น้ำมันเครื่องบิน จากสาหร่ายเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นพลังงานทดแทน (renewable energy) แทนพลังงานฟอสซิล (Fossil Fuels) ซึ่งเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นน้ำมันที่ปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ตามแนวทางพลังงานสีเขียวเพื่อความยั่งยืน นอกจากนี้ คุณสมบัติของสาหร่ายเอง ยังสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพราะการเจริญเติบโตของสาหร่าย ต้องอาศัยคาร์บอนไดออกไซด์ ในการสังเคราะห์แสง ช่วยลดภาวะโลกร้อน จากผลกระทบของก๊าซเรือนกระจก ด้วย


ทำไมจึงจะต้องมีการทดแทนพลังงานฟอสซิล ?

เนื่องจาก พลังงานฟอสซิล (Fossil Fuels) เป็นพลังงานสิ้นเปลือง (Conventional Energy) กล่าวคือ เป้นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป และหามาทดแทนไม่ทันต่อการใช้ ได้แก่ ถ่านหิน (Coal) น้ำมันดิบ (Crude oil) ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas)

พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuels) เกิดจากการทับถมกันของ ซากพืช ซากสัตว์ ใต้ทะเลลึก หรือใต้ชั้นพื้นดิน เมื่อหลายพันล้านปีก่อนพร้อมกับได้รับความร้อนจากใต้พื้นพิภพ ทำให้ซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันหนาแน่นใต้ชั้นหินตะกอน เกิดการย่อยสลายกลายเป็นแหล่งสะสมของ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) ขนาดใหญ่ ที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงและแหล่งกำเนิดพลังงานต่าง ๆ

 

เมื่อพลังงานฟอสซิล (Fossil Energy) ถูกเผาไหม้จากกิจกรรมต่าง ๆ ผลพลอยได้จากการเผาไหม้ ก็คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  และก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อนตามมานั่นเอง

 

ดังนั้น จึงต้องแนวทางพลังงานสีเขียวเพื่อความยั่งยืนเกิดขึ้น นอกจากงานวิจัยแปรรูปสาหร่าย เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินแล้ว ยังได้มีการตั้งคณะร่วมมือกับอีกหลายประเทส หนึ่งในนั้นก็คือ ร่วมมือกับทางการประเทศไทย และเอกชนของไทย โดยมี  concept  “ Cultivate the Earth ”

ซึ่งทาง Chitose มีวิสัยทัศน์และแนวการคิด สอดคล้องกับนโยบาย BCP Model (Bio-Circular-Green Economy) ของรัฐบาลไทย ซึ่งกรมประมงดินหน้าแล้วในปีนี้ ภายใต้นโยบายนโยบายเกษตรอาหารเกษตรพลังงานและนโยบายอาหารแห่งอนาคต

สำหรับโครงการผลิตสาหร่ายแปรรูป ต่อยอดนวัตกรรมงานวิจัย สวทช. กรมประมงเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC)” : ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีการเกษตร แหล่งอบรมบ่มเพาะ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรม โดยจะใช้ฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่

และเมื่อปลายเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา กรมประมงได้เป็นเจ้าภาพ ร่วมกับ มูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท (WCF : Worldview Climate Foundation) และมูลนิธิเวิลด์วิว อินเตอร์เนชั่นแนล (WIF : Worldview International Foundation) ได้จัดเสวนา รูปแบบออนไลน์ผ่านทางระบบ Zoom Meeting ในหัวข้อเรื่อง “อนาคตสาหร่ายทะเลในประเทศไทย Seawed : The Next Future” มีองค์กรอาหาร และเกษตรสหประชาชาติ หน่วยงานวิจัยภาครัฐ ภาคเอกชนของไทย และต่างประเทศเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

 

ทั้งนี้ แม้ว่าสาหร่าย จะถูกนำมาแปรรูปเป็น น้ำมันเครื่องบินได้นั้น น้ำมันดังกล่าว ต้องมีทดสอบคุณสมบัติการเป็นเชื้อเพลิง เพื่อนำไปใช้งานตามมาตรฐานการใช้งาน ในณะที่ประเทศไทย น้ำมันเชื้อเพลิง ทุกชนิด ที่ถูกนำมาใช้งานก็จะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานกรมธุรกิจพลังงาน ได้ระบุไว้ โดยกรมธุรกิจพลังงาน มีหน้าที่หลักในการส่งเสริม และกำกับดูแลให้ประเทศ เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน คุ้มครองประชาชนให้มีพลังงานใช้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ

 

บริษัท เคมีเคิลเฮ้าส์ แอนด์ แล็ป อินสทรูเม้นท์ จํากัด จำหน่าย เครื่องทดสอบคุณภาพน้ำมันปิโตรเลียมน้ำมัน ปิโตรเลียม และเครื่องทดสอบเยื่อกระดาษ บรรจุภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมาย ที่มีหลากหลายมาตรฐานการทดสอบ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ptsales@chemihouse.com

หรือ Add line ที่ QR Code ด้านล่าง

หรือหากสนใจผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โปรดติดต่อเรา Chemical house and Lab Instrument

 

 

ขอบคุณ ข่าวสารข้อมูลเพิ่มเติม

และรูปภาพจาก siamrath.co.th