ทดแทนการใช้โฟมด้วยบรรจุภัณฑ์ทางเลือก

ปัจจุบัน เราพยายามที่จะลดการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่ทำมาจากโฟม เปลี่ยนมาเป็น บรรจุภัณฑ์ทางเลือก ที่ทำมาจากธรรมชาติแทน และจากเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นในไทย คือเกิดการไฟไหม้ที่โรงงานผลิตโฟม แถวกิ่งแก้ว ซึ่งมีสารตั้งต้นในการผลิตโฟมคือ Polystyrene ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับโฟมกันก่อน

โฟม คือ เม็ดพลาสติก ที่ฟูหรือขยายตัว ซึ่งพลาสติกมีอยู่มากมายหลายประเภท หากผ่านกระบวนการที่ใช้สารขยายตัว (Blowing Agent) ก็จะทำให้พลาสติกนั้นกลายเป็นโฟม โดยเรียกกันทั่วไปว่า Foam Plastic ตัวอย่างของโฟมพลาสติกที่รู้จักกันทั่วไปเช่น ฟองน้ำ กล่องโฟมใส่อาหาร โฟมแผ่น โฟมฉีดพ่นเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น ซึ่งโฟมพลาสติกเหล่านี้ ล้วนแต่ผลิตจากพลาสติกแตกต่างประเภทกันไป

พลาสติก คือ สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้น เพื่อใช้แทนวัสดุธรรมชาติ  หรือ หากอธิบายลงลึกไปในทางวิทยาศาสตร์ พลาสติกคือ สารประกอบของไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงประกอบด้วย โมเลกุลซ้ำๆต่อกันเป็นโมเลกุลสายยาวๆประกอบด้วยธาตุสำคัญ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน นอกจากนี้อาจมีธาตุอื่นๆเช่น ส่วนประกอบย่อย ซึ่งได้แก่ ไนโตรเจน ,ฟลูออรีน,คลอรีน และกำมะถัน เป็นต้น 

ประเภทของโฟม

EPS foam : Expandable Polystyrene ผลิตออกมาในรูปทรง นิยมนำไปใช้งานหลากหลายประเภท เช่น เม็ดโฟม โฟมแผ่น โฟมก้อน กล่องโฟม บรรจุภัณฑ์โฟม โฟมขึ้นรูป หรือโฟมก่อสร้าง ส่วน โฟม PSP : Polystyrene Paper ผลิตเป็นแผ่น นิยมใช้ทำถาด กล่อง บรรจุอาหาร

บรรจุภัณฑ์จากโฟม

โฟม EPS  คือ โฟม PS ที่ใช้ก๊าซ Pentane (C5H12) ทำให้ขยายตัว เมื่อได้รับความร้อน จากไอน้ำจะกลายเป็นเม็ดโฟมขาว จากนั้นนำไปขึ้นรูปได้ 2 ลักษณะ คือ อัดเป็นรูปร่าง ตามแบบแม่พิมพ์ และอัดขึ้นรูปเป็นโฟมก้อน แล้วนำมาตัดเป็นโฟมแผ่นตามความหนาที่ต้องการ

โฟม PSP คือ เม็ดพลาสติก PS ที่ผ่านสกรูความร้อน ในขณะที่เม็ดพลาสติกหลอมตัวจะให้ก๊าซ Butane (C4H10) ร่วมด้วย จน Polystyrene ขยายตัวประมาณ 20 เท่า จึงฉีดออกมาเป็นแผ่น จัดเก็บม้วนคล้ายกระดาษ จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูปเป็นกล่อง หรือถาดใส่อาหาร

ทั้ง EPS และ PSP ประกอบไปด้วยอากาศถึง 95-98% ส่วนที่เหลืออีก 2 – 5% ก็คือเนื้อพลาสติกโพลีสไตรีน ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน CFC’s (Chlorofluoro carbons) คือสารประกอบ คลอไรน์, ฟลูออไรน์ และคาร์บอนซึ่งมีองค์ประกอบแตกต่าง จากโพลีสไตรีนที่เป็นเนื้อโฟมและเนื่องจาก CFC’S มีจุดระเหยต่ำจึงยากต่อการกักเก็บ ไว้ในเม็ดวัตถุดิบ โฟม EPS จึงไม่เคยใช้สาร CFS’s ในกระบวนการผลิตเลยนับตั้งแต่ บริษัท BASF แห่งเยอรมันผลิตโฟม EPS ขึ้นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี 1952 สารที่ใช้ทำให้โฟม EPS ขยายตัวก็ คือ ก๊าซเพนเทนซึ่งไม่มีคลอไรน์

ในส่วนของบรรจุภัณฑ์จากโฟม ที่เราใส่อาหารนั้น ก็จะเป็นประเภท PSP อย่างที่เราทราบกันว่า โฟมนั้น ใช้เวลาในการย่อยสลายที่นาน และถึงแม้ จะสามารถนำมารีไซเคิลใหม่ได้ แต่ในการรีไซเคิล หรือการผลิตนั้น ต้องมีการ ใช้สารเคมีเป็นสารตั้งต้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย และธรรมชาติ ปัจจุบัน

ผู้คนจึงหัดมาสนใจ บรรจุภัณฑ์ทางเลือก อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น จากกระดาษ ผลผลิตทางการเกษตร หรือจะเป็นพลาสติก แต่เป็นพลาสติกที่มีระยะในการย่อยสลายที่น้อยลง หรือผลิตจากวัสดุธรรมชาติมาผสม

วัสดุแรกที่คนหันมาใช้กันเยอะ คือกระดาษ เพราะสามารถหาได้ง่าย และราคาไม่แพง และขั้นตอนในการผลิตกระดาษ ก็มีสารเคมีเป็นส่วนผสมที่น้อยกว่า โฟม และสามารถ ย่อยสลายได้รวดเร็วกว่า คนจึงหันมาใช้กระดาษทำเป็นบรรจุภัณฑ์แทน หรือถ้าต้องการจากธรรมชาติ ที่เป็นผลผลิตที่เหลือจากการเกษตร ก็จะมีที่เราเห็นกันบ่อยๆก็คือ จาน ชาม หรือกล่องจากชานอ้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลือจากการผลิตน้ำตาล ซึ่งกล่องชานอ้อย นั้นจะใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายน้อยมาก คือประมาณ 45 วัน

บรรจุภัณฑ์ทางเลือกจากกระดาษ
บรรจุภัณฑ์ทางเลือกจากชานอ้อย

ถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องกันซึมของน้ำ นั้นอาจจะไม่สามารถใช้กระดาษ หรือชานอ้อนได้ 100% ก็ต้องมีการใช้พลาสติกเข้ามาผสม แต่ปัจจุบันก็มีพลาสติกหลากหลายแบบ ทั้ง Biodegradable หรือพลาสติกที่ทำจากสาหร้่น มันสำปะหรัง เพื่อให้อายุในการย่อยสลายลดลง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มากขึ้น

ผลิตภัณฑ์ทางเลือก ทั้งกระดาษ ชานอ้อย หรือแม้แต่ Biodegradable นั้นก็จำเป็นต้องมีการทดสอบความแข็งแรง ทั้งความแข็งแรงต่อการดึง (Tensile) การดันทะลุ (Burst and Puncture) หรือแม้แต่การซึมน้ำของบรรจุภัณฑ์ (Cobb test, WVTR) ทาง CH นั้นก็มีเครื่องมือทดสอบความแข็งแรง ทั้งทางด้านกระดาษ และทางด้านพลาสติก ( Flexible Packaging)

สอบถามข้อมูล เพิ่มเติม ได้ที่ ppsales@chemihouse.com หรือ โทร 02-184-4000

Line Official