ทำไม ราคาน้ำมันถึงแพง???

จากสถานการณ์ ราคาน้ำมัน ในขณะนี้ ถือว่า อยู่ในช่วงขาขึ้น เลยทีเดียว เพราะราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเอา ๆ จาก ผลกระทบ ด้านการผลิต ของประเทศโอเปก ที่ลดลง  ซึ่งเป็น องค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เพื่อการส่งออก ( OPEC ;  Organization of the Petroleum Exporting Countries ) นั่นเอง ในขณะเดียวกัน การบริโภคใช้น้ำมัน ยังคงมีความต้องการใช้ เท่าเดิม หรือ เพิ่มขึ้นอีกด้วย  งั้นเรามาดูกันว่า ราคาน้ำมันที่แพงนั้น กว่าจะมาถึงปั๊ม แล้วมาสู่ผู้ใช้อย่างเรา ๆ ต้องผ่านอะไรมาบ้าง

 

บริษัท เคมีเคิลเฮ้าส์ แอนด์ แล็ป อินสทรูเม้นท์ จํากัด จึงขอนำข้อมูล เกี่ยวกับโครงสร้างราคาน้ำมัน ของประเทศไทย เพื่อทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ของ ราคาน้ำมัน จะได้เบาใจได้ว่า ราคาน้ำมัน นอกจากปรับราคาขึ้นแล้ว ยังสามารถปรับลง ได้เช่นกัน ตามสถานการณ์ ตลาดน้ำมันโลก

จากที่เราเห็นว่า ราคาน้ำมัน ขายปลีก มีการเปลี่ยนแปลงปรับขึ้น – ปรับลง อยู่ตลอดนั้น ปัจจุบัน โครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศไทย จะต้องผ่านผู้ที่เกี่ยวข้อง อะไรบ้าง แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

  1. ราคาหน้าโรงกลั่น  หรือ ราคาต้นทุนของเนื้อน้ำมัน  แม้ว่า ประเทศไทย จะสามารถผลิตน้ำมัน ได้เองบ้าง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ต่อความต้องการ การใช้น้ำมัน จึงยังคง ต้องมีการนำเข้าน้ำมันดิบ จากต่างประเทศ  โดยประเทศไทย จะอ้างอิงราคาน้ำมัน หน้าโรงกลั่น ตามตลาดภูมิภาค ซึ่งก็ คือ สิงคโปร์  โดยนอกจาก ราคาต้นทุนน้ำมันดิบแล้ว ยังมีค่าการกลั่น ตามมาอีกด้วย ดังนั้น หากราคาน้ำมันดิบ และค่าการกลั่นสูงขึ้น ก็จะทำให้ราคาน้ำมัน ถูกปรับขึ้นตามไปด้วย เช่นเดียวกัน หากต้นทุนต่ำ ราคาปลีกก็จะถูกปรับราคาลดลงนั่นเอง

 

  1. ภาษี  เป็นส่วน ที่ภาครัฐบาล จะเรียกเก็บเพิ่มเติม จาก ราคาน้ำมัน ประกอบด้วย ภาษี เทศบาล , กรม สรรพสามิต และ ภาษี มูลค่าเพิ่ม ( Vat )
  • ภาษี เทศบาล คือ ภาษี ที่ต้องเสีย ให้กับภาครัฐ โดยกระทรวงการคลัง เพื่อ นำไปพัฒนาโรงกลั่น ในพื้นที่ หรือ จังหวัด ที่มีโรงกลั่นตั้งอยู่

  • ภาษี สรรพสามิต เป็น ภาษี ที่ต้องให้กับภาครัฐ เพื่อ เป็นงบประมาณ ให้กับประเทศ  เป็นภาษี ประเภทสินค้า ผลิต ฟุ่มเฟือย และนำเข้า ซึ่งน้ำมันแต่ชนิด มีอัตราเรียกเก็บ ที่แตกต่างกัน

  • ภาษี มูลค่าเพิ่ม ( Vat 6 – 7  % ) เป็น ภาษี ที่ถูกเก็บจากสินค้า และ บริการทุกชนิด ที่จะต้องจ่าย ให้กับภาครัฐ โดย จัดเก็บโดยกระทรวงการ คลัง

  1. กองทุน หรือ เงินกองทุน เป็น กองทุน ที่ถูกจัดขึ้น โดย ภาครัฐ โดย แบ่งออกเป็น  2 กองทุน
  • กองทุน น้ำมันเชื้อเพลิง จะเก็บ สำรองเงินไว้ใช้ ในกรณี ที่ราคาน้ำมัน ( ขายปลีก ) มีความผันผวน มาก เช่น ในตอนที่ ราคาน้ำมันตลาดโลก ราคาสูงเกินไป ก็จะใช้เงินสำรองกองทุน ส่วนนี้ มาพยุงราคาน้ำมัน ในประเทศไว้ เงินส่วนนี้ จะถูกจัดเก็บ ตามประกาศคณะกรรมการบริหาร กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ( กบน. )  น้ำมันแต่ละชนิด จะเรียกเก็บในอัตราส่วนที่ต่างกัน

  • กองทุน เพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน  ถูกเก็บโดย คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ( กพช. ) เพื่อส่งเสริม สนับสนุนพลังงาน ไม่ว่าจะเป็น พลังงานทางเลือก และ พลังงานทดแทน ในประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยน้ำมัน ทุกชนิดจะถูกเก็บเท่ากัน ที่อัตรา 0.10 บาท / ลิตร

 

  1.  นอกจาก ผ่าน กระบวนการ ทั้งหมด ดังที่ได้กล่าวมา แล้วนั้น ผู้ประกอบการ ยังต้องเสีย  “ ค่าการตลาด ”  อีกด้วย ซึ่ง จะเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนิน การประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ค่าการขนส่ง ค่าการก่อสร้าง คลังน้ำมัน และ ค่าการจ้างบุคลากร ทั้งนี้ จากที่กล่าวมา ทั้งหมดจะบ่งบอก ถึงความแตกต่างของราคาน้ำมัน แต่ละปั๊ม และ แบรนด์อีกด้วย

ซึ่ง ส่วนนี้ ผู้ประกอบการ สามารถกำหนดเอง ได้อย่างเสรี แต่ ก็ยังคงมีกลไก ทางการตลาด เข้ามาควบคุม เพราะ ถ้าหากปรับราคาสูงขึ้น เกินไป ก็ อาจจะจำหน่ายน้ำมัน ได้น้อยกว่า ปั๊ม หรือ แบรนด์อื่น ที่ราคาถูกกว่า

 

ขอบคุณ ข้อมูล และ รูปภาพจาก : สำนักงาน นโยบายและแผนพลังงาน ( สนพ. )

: ศูนย์ข่าวพลังงาน ( energy news center )