การทดสอบ Crush หรือการ ทดสอบแรงกด ในทิศทางต่างๆของ กระดาษ บอร์ด หรือกล่อง เป็นการทดสอบความแข็งแรงของ วัสดุในการต้านทานแรงกด ที่กระทำในแนวดิ่งหรือแนวราบ โดยการทดสอบนี้ ใช้ในการประเมินความทนทานของวัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษลูกฟูก (corrugated paperboard) กล่องบรรจุภัณฑ์ และกระดาษที่จะนำมาผลิตกล่อง เพื่อดูว่าวัสดุสามารถรับแรงกดได้มากน้อยเพียงใดก่อนจะเกิดการยุบตัวหรือพังทลาย
ในการ ทดสอบแรงกด หรือ ทดสอบ Crush จะแบ่งการทดสอบเป็น 2 ส่วน ของตัวอย่างที่นำมาทดสอบเป็นกระดาษ และตัวอย่างเป็นบอร์ด (Paperboard) หรือกล่องกระดาษที่ตัดขนาดตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ ดังนั้น การทดสอบ Crush จะเหมาะทั้งผู้ที่เป็นคนผลิตกระดาษออกมา ทั้งกระดาษที่นำมาปะหน้ากล่อง หรือ Liner และกระดาษที่นำมาผลิตเป็นลอนลูกฟูก หรือ Corrugated medium (CM) และผู้ผลิตกล่องลูกฟูก ที่นำกระดาษมาใช้งานต่อ เพื่อมาผลิตเป็นกล่องลูกฟูก
ในการทดสอบ Crush นั้น จุดประสงค์เพื่อ ดูว่าตัวอย่างนั้น มีความแข็งแรง หรือสามารถต้านทานแรงกดในแต่ละทิศทางได้มากน้อยแค่ไหน เหมาะกับ Product ที่ต้องการทำออกมาหรือไม่
ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ความสามารถในการรับน้ำหนักการซ้อนทับของกล่อง ว่ารองรับน้ำหนักได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเป็นการทดสอบโดยตรง ก็จะเป็นการใช้เครื่อง Box Compression Tester (BCT) ในการทดสอบความต้านทานแรงกดของกล่องเลย แต่ถ้าเป็นการทดสอบด้วยเครื่อง Crush จะมีข้อแตกต่างเป็นการทดสอบตั้งแต่กระดาษ ที่จะนำมาทำเป็นกล่องกระดาษลูกฟูก ใช้ตัวอย่างที่น้อย และขนาดเล็กกว่าการทดสอบ BCT
สารบัญ
Toggleประเภทในการทดสอบ Crush Test
1. การต้านทานแรงกดในแนววงแหวน (Ring Crush Test, RCT)
ตัวอย่าง: กระดาษ
ขนาดตัวอย่าง: 12.7 x 152.4 mm
การต้านทานแรงกดในแนววงแหวน หรือ ความสามารถของกระดาษความยาวคงที่ (152.4 mm) นำมาโค้งงอเป็นวงแหวน ในอุปกรณ์ RCT Holder เพื่อที่จะต้านแรงกด ในแนวระราบเดียวกับกระดาษ จนขอบกระดาษเสียรูป มีหน่วยเป็น นิวตัน (N) หรือ กิโลกรัมแรง (kgf)
ค่าความต้านแรงกดวงแหวน ของกระดาษในแนวขวางเครื่อง (CD) จะมีความสัมพันธ์กับความต้านแรงกด หรือความแข็งแรงในการเรียงซ้อนของกล่องกระดาษ หรือถังกระดาษ ค่า RCT ยังสัมพันธ์กับ แนวกดความต้านแรงกดแนวตั้ง (ECT) ของแผ่นกระดาษลูกฟูกสามารถใช้ค่าความต้านแรงกดวงแหวนนี้ในการควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในสายการผลิต
Standard: TAPPI T822, ISO 12192
2. การต้านทานแรงกดในแนวตั้ง (Edge Crush Test, ECT)
ตัวอย่าง: กล่อง, Paperboard
ขนาดตัวอย่าง: 25 x 100 mm (ISO)
การต้านทานแรงกดในแนวตั้ง หรือ ความสามารถของแผ่นกระดาษลูกฟูก รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่จะต้านแรงกดเมื่อกระทำในทิศทางเดียวกับแนวตั้งของลูกฟูกจนกระทั้งแผ่นลูกฟูกหักหรือยุบตัวลง มีหน่วยเป็น กิโลนิวตันต่อเมตร (kNm)
การทดสอบนี้มีความสำคัญต่อแผ่นกระดาษลูกฟูกมาก เพราะเป็นค่าที่บอกถึงความแข็งแรงของแผ่นกระดาษลูกฟูก ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับความแข็งแรงในการเรียงซ้อนของกล่องกระดาษลูกฟูกหรือค่าการรับแรงกดของกล่องนั่นเอง ค่าความต้านแรงกดในแนวตั้งสามารถนำมาคำนวนหาความต้านแรงกดของกล่องกระดาษลูกฟูกได้ ยิ่งค่า ECT สูง หมายถึงวัสดุสามารถรับแรงกดได้มาก
ในการทดสอบนี้ จะมีมาตรฐานของ ISO และ TAPPI ซึ่งจะมีการทดสอบที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงขนาดตัวอย่าง แต่โดยทั่วไป จะเป็นการทดสอบตาม ISO 3037 สามารถอ่าน ความแตกต่างของการทดสอบ ECT ตาม ISO และ TAPPI ได้เพิ่มเติม
Standard: TAPPI T811, ISO 3037
3. การต้านทานแรงกดในแนวนอน (Flat Crush Test, FCT)
ตัวอย่าง: กล่อง, Paperboard
ขนาดตัวอย่าง: 32.3 cm2 , 64.5 cm2 หรือ 100 cm2
การต้านแรงกดในแนวนอน หรือ ความสามารถของลูกฟูก ในแผ่นกระดาษลูกฟูก ที่ต้านแรงกดลงบนลอนลูกฟูกในแนวราบจนลอนเสียรูป เป็นการวัดความแข็งแรง ของลอนลูกฟูกของกระดาษลอน สัมพันธ์กับความสามารถในการรับน้ำหนักกดทับและป้องกันการกระแทก
ถ้าค่า FCT สูง แสดงว่าลอนลูกฟูกมีความแข็งแรงมากพอรองรับน้ำหนักมากๆ แต่ถ้าค่า FCT ต่ำ ลอนอาจจะรับน้ำหนักได้น้อย หรือว่าเกิดลอนล้มขณะทดสอบ คือ ลอนลูกฟูกเกิดการเอียง หรือผิดรูปร่างในขณะที่ถูกแรงกด ทำให้ได้ค่าต่ำ
Standard: TAPPI T808, ISO 3035
4. การติดแน่นของกาวของกระดาษลูกฟูก (Pin Adhesion Test, PAT)
ตัวอย่าง: กล่อง, Paperboard
ขนาดตัวอย่าง: 25 x 100 mm
การทดสอบการติดแน่นของกาวของกระดาษลูกฟูก คือ การทดสอบแรงที่จะแยกลอนลูกฟูกกับ liner board ออกจากกันได้ ดูประสิทธิภาพของกาวที่นำมาติด
ถ้ามีการยึดติดที่ดี จะส่งผลต่อคุณภาพของกล่อง เป็นการดูพันธะที่เกิดขึ้น ว่ามีการซึมผ่านของกาวที่ดีหรือไม่ดี หรือมีการยึดติดกาวที่สม่ำเสมอรึป่าว อาจจะมีการอ่านค่าได้ต่ำ เมื่อมีการทดสอบกับพวก Light weight liners เมื่อ liner มีความยืดหยุ่นเยอะ ซึ่งจะทำให้เกิดการโค้งงอรอบๆ pressure pin (อุปกรณ์สำหรับทดสอบ PAT)
Standard: TAPPI T821
5. การต้านทานแรงกดของลอนลูกฟูก (Concora Medium Test, CMT)
ตัวอย่าง: กระดาษ
ขนาดตัวอย่าง: 12.7 x 152.4 mm
การทดสอบความต้านแรงกดของลอนลูกฟูก คือ การประเมินความต้านทานแรงกดของลอน ก่อนที่จะนำไปรวมกับ liner board ซึ่งการทดสอบนี้ จะเป็นการนำกระดาษที่จะนำไปขึ้นรูปเป็นลอนลูกฟูก มาทำการจำลองการขึ้นรูปด้วยเครื่อง Fluter ซึ่งจะทำการจำลองลอน A หรือ B ซึ่งเป็นลอนที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน
Standard: TAPPI T809, ISO 7263
จากการทดสอบทั้ง 5 ประเภทนั้น จะเห็นได้ว่าจะมีการทดสอบที่ตัวอย่างเป็นกระดาษอยู่สองประเภท คือ RCT และ CMT ซึ่งทั้งสองค่านั้น ทางโรงงานที่ผลิตกระดาษจะต้องมีการทดสอบ เพื่อตรวจเช็คคุณภาพกระดาษก่อนส่งให้ โรงผลิตกล่องที่นำกระดาษไปใช้
ส่วนการทดสอบค่า ECT, FCT และ PAT จะเป็นการทดสอบกล่อง หรือ Paperboard เหมาะสำหรับผู้ผลิตกล่อง และสามารถทดสอบ RCT และ CMT เพื่อทำการเช็ค Incoming กระดาษที่รับเข้ามาได้อีกด้วย
จุดประสงค์ของการ ทดสอบแรงกด Crush Test
- ประเมินความทนทานของวัสดุ: การทดสอบนี้ช่วยให้ผู้ผลิตทราบว่าวัสดุสามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดได้มากน้อยเพียงใด
- ควบคุมคุณภาพ: ใช้ในการควบคุมคุณภาพของกระดาษลูกฟูกหรือวัสดุอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง
- ตรวจสอบความเหมาะสมในการใช้งาน: การทดสอบนี้ช่วยให้ผู้ผลิตทราบว่าวัสดุที่ใช้นั้นเหมาะสมกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ต้องรับแรงกดหรือไม่
- ลดปัญหาในการขนส่ง: ช่วยให้มั่นใจว่าบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุจะไม่เกิดความเสียหายระหว่างการขนส่งหรือการจัดเก็บ
ทาง Chemical House and Lab Instrument เป็นตัวแทนจำหน่าย เครื่องมือวัด เครื่องทดสอบ ในด้านอุตสาหกรรมเยื่อ และกระดาษ (Pulp and Paper Industry) และ Paper Packaging ทั้งเครื่อง Crush Tester, Burst Tester และ Box Compression เป็นต้น โดยมีทั้งจากประเทศ ญี่ปุ่น, USA, เยอรมัน และจีน เป็นต้น เช่น KRK, Frank PTI เป็นต้น
บริษัท เคมีเคิลเฮ้าส์ แอนด์ แล็บอินสทรูเม้นท์ จำกัด
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
☎️ โทร 02-184-4000 ฝ่ายขาย ต่อ 205
📧 Email : ppsales@chemihouse.com
Facebook : ch.chemicalhouse
หรือ Line OA จาก QR Code ด้านล่าง