การทดสอบความต้านทานต่อแรงกดทับ ในทิศทางต่างๆของ กระดาษ และบอร์ดนั้น สามารทดสอบได้ด้วยเครื่อง Crush Tester ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกดทับ แล้วอ่านค่าแรงที่สามารถต้านทานได้ แต่สิ่งที่จะแตกต่างกันในการทดสอบในแต่ละรูปแบบนั้น จะขึ้นอยู่กับวิธีการเตรียมตัวอย่าง และอุปกรณ์ในการทดสอบ
ความต้านทานต่อแรงกดในทิศทางต่างๆนั้น ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ความสามารถในการรับน้ำหนักการซ้อนทับของกล่อง ว่ารองรับน้ำหนักได้มากน้อยแค่ไหน หรือถ้าเป็นการทดสอบโดยตรง ก็จะเป็นการใช้เครื่อง Box Compression Tester (BCT) ในการทดสอบความต้านทานแรงกดของกล่องเลย แต่ถ้าเป็นการทดสอบด้วยเครื่อง Crush จะเป็นการทดสอบตั้งแต่กระดาษ ที่จะนำมาทำเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกเลย และใช้ตัวอย่างที่น้อย และขนาดเล็กกว่าการทดสอบ BCT
สารบัญ
Toggleการทดสอบแรงกดด้วยเครื่อง Crush นั้นจะแบ่งวิธีการทดสอบ ดังนี้
1.Ring Crush Test (RCT)
การทดสอบความต้านทานแรงกดในแนววงแหวน หมายถึง ความสามารถของกระดาษความยาวคงที่ นำมาโค้งงอเป็นวงแหวน เพื่อที่จะต้านแรงกด ในแนวระราบเดียวกับกระดาษ จนขอบกระดาษหักพับ มีหน่วยเป็น นิวตัน (N) หรือ กิโลกรัมแรง (kgf) ค่าความต้านแรงกดวงแหวน ของกระดาษในแนวขวางเครื่อง จะมีความสัมพันธ์กับความต้านแรงกด หรือความแข็งแรงในการเรียงซ้อนของกล่องกระดาษหรือถังกระดาษ
นอกจากนี้แล้วค่าความต้านแรงกดวงแหวนยังสัมพันธ์กับแนวกดความต้านแรงกดแนวตั้งของแผ่นกระดาษลูกฟูกสามารถใช้ค่าความต้านแรงกดวงแหวนนี้ในการควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในสายการผลิต
การทดสอบนี้จะเป็นไปตามมาตรฐาน TAPPI T822 และ ISO 12192 ซึ่งจะมีการกำหนดความเร็วในการทดสอบ อยู่ที่ 12.5 mm/min และขนาดตัวอย่างที่ 12.7 x 152.4 mm ในการทดสอบ RCT นั้นจะมีอุปกรณ์เสริมก็คือ RCT Holder โดยแต่ละอันจะมีขนาดความหนาของตัวอย่างที่ไม่เท่ากัน ในการทดสอบจึงจำเป็นต้องเลือกตัว RCT Holder ที่เหมาะสมกับความหนาของตัวอย่าง เพราะ ถ้าเราเลือก Holder ที่หนาเกินไปอาจทำให้เวลาเราทดสอบ กระดาษตอนโดนทับอาจจะเกิดการเอียง ทำให้การอ่านค่าออกมาไม่ถูกต้อง หรือ แน่นเกินไป อาจทำให้กระดาษยับหรือเป็นรอยได้
2. Edge Crush Test (ECT)
การทดสอบความต้านทานแรงกดในแนวตั้ง หมายถึง ความสามารถของแผ่นกระดาษลูกฟูกรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่จะต้านแรงกดเมื่อกระทำในทิศทางเดียวกับแนวตั้งของลูกฟูกจนกระทั้งแผ่นลูกฟูกหักหรือยุบตัวลง มีหน่วยเป็น กิโลนิวตันต่อเมตร (kNm)
การทดสอบนี้มีความสำคัญต่อแผ่นกระดาษลูกฟูกมาก เพราะเป็นค่าที่บอกถึงความแข็งแรงของแผ่นกระดาษลูกฟูก ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับความแข็งแรงในการเรียงซ้อนของกล่องกระดาษลูกฟูกหรือค่าการรับแรงกดของกล่องนั่นเอง ค่าความต้านแรงกดในแนวตั้งสามารถนำมาคำนวนหาความต้านแรงกดของกล่องกระดาษลูกฟูกได้
ในกรณีของแผ่นกระดาษลูกฟูก 1 ชั้น ความสูงของลอนลูกฟูกจะมีผลต่อค่าความต้านแรงกดในแนวตั้ง นั่นคือ ความสูงของลอนลูกฟูกมากก็ย่อมมีค่าความต้านแรงกดในแนวตั้งมากตามไปด้วย ซึ่งการเปรียบเทียบกันนี้จะต้องทดสอบที่สภาวะเดียวกันและใช้
องค์ประกอบของกระดาษที่ใช้ทำแผ่นกระดาษลูกฟูกเหมือนกัน
การทดสอบนี้จะเป็นไปตามมาตรฐาน TAPPI T811 และ ISO 3037 แต่ในการเตรียมตัวอย่าง และการทดสอบของทั้งสองมาตรฐานนี้จะมีความแตกต่างกัน ทำให้ค่าทดสอบที่ทดสอบออกมาแตกต่างกันไปด้วย สามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่องความแตกต่างของมาตรฐาน TAPPI T811 และ ISO 3037 ได้ ดังนั้นในการทดสอบ ECT จำเป็นต้องระบุมาตรฐานการทดสอบที่ชัดเจน
3. Flat Crush Test (FCT)
การทดสอบความต้านทานแรงกดในแนวนอน คือ ความสามารถของลูกฟูกในแผ่นกระดาษลูกฟูกที่ต้านแรงกดลงบนลอนลูกฟูกในแนวราบจนลอนเสียรูป เป็นการวัดความแข็งแรงของลอนลูกฟูกของกระดาษลอน สัมพันธ์กับความสามารถในการรับน้ำหนักกดทับและป้องกันการกระแทก
โดยถ้าการทดสอบได้ค่าที่สูง แสดงว่าลอนลูกฟูกมีความแข็งแรงมากพอรองรับน้ำหนักมากๆ แต่ถ้าค่าต่ำ ลอนอาจจะรับน้ำหนักได้น้อย หรือว่าเกิดลอนล้มขณะทดสอบ คือ ลอนลูกฟูกเกิดการเอียง หรือผิดรูปร่างในขณะที่ถูกแรงกด ทำให้ได้ค่าต่ำ
การทดสอบนี้เป็นไปตามมาตรฐาน TAPPI T808 และ ISO 3035 โดยมาตรฐานจะกำหนดให้ตัดตัวอย่างเป็นวงกลท ขนาดตัวอย่างกำหนดไว้สามขนาด คือ 32.3 cm2 , 64.5 cm2 หรือ 100 cm2 และความเร็วในการทดสอบที่ 12.7 mm/min
4. Pin Adhesion Test (PAT)
การทดสอบการติดแน่นของกาวของกระดาษลูกฟูก เป็นทดสอบดูว่าต้องใช้แรงเท่าไร ที่จะแยกลอนลูกฟูกกับ liner board ออกจากกันได้ ดูประสิทธิภาพของกาวที่นำมาติด
ถ้ามีการยึดติดที่ดี จะส่งผลต่อคุณภาพของกล่อง เป็นการดูพันธะที่เกิดขึ้น ว่ามีการซึมผ่านของกาวที่ดีหรือไม่ดี หรือมีการยึดติดกาวที่สม่ำเสมอรึป่าว อาจจะมีการอ่านค่าได้ต่ำ เมื่อมีการทดสอบกับพวก Light weight liners เมื่อ liner มีความยืดหยุ่นเยอะ ซึ่งจะทำใหเกิดการโค้งงอรอบๆ pressure pin (อุปกรณ์สำหรับทดสอบ PAT)
การทดสอบ PAT นั้น จะมีอุปกรณ์เสริทในการทดสอบก็คือตัว PAT Holder ประกอบไปด้วย Pressure Pin Base Plate, Pressure Pins, Support Pins และ Support Pin Base Plate ตามรูปด้านล่าง
การทดสอบนี้จะเป็นไปตามมาตรฐาน TAPPI T821 โดยจะตัดตัวอย่าง ขนาด 100 x 25 mm ซึ่งตัว Pin Holder ก็ต้องเลือกให้ถูก ตามขนาดของลอน ก็คือลอน A, B และ C
5. Concora Medium Test (CMT)
การทดสอบความต้านแรงกดของลอนลูกฟูก คือ การประเมินความต้านทานแรงกดของลอนก่อนที่จะนำไปรวมกับ liner board ซึ่งการทดสอบนี้ จะเป็นการนำกระดาษที่จะนำไปขึ้นรูปเป็นลอนลูกฟูก มาทำการจำลองการขึ้นรูปด้วยเครื่อง Fluter ซึ่งจะทำการจำลองลอน A ซึ่งเป็นลอนที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน
การจะขึ้นรูปลอนด้วยเครื่อง Fluter นั้น จะเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 7263 ซึ่งจะกำหนดขนาดของลอนลูกฟูก กำหนดอุณหภูมิในการทำลอนที่ 175 องศ่เซลเซียส และเมื่อทำลอนออกมาแล้ว ต้องนำมาวางบน Rack และ Comb และติดเทป เพื่อเป็นการยึดให้ลอนเข้ารูปและอยู่ตัว จากนั้นนำเข้าไปทดสอบด้วยเครื่อง Crush โดยในขั้นตอนพวกนี้ควรจะทดสอบให้เสร็จภายใน 15 วินาที หรือ วางไว้ในห้อง Condition 30 – 35 นาที หลังจากตัวอย่างออกมาจากเครื่อง Fluter และนำไปทดสอบ แต่จำเป็นต้องมีการเขียนกำกับว่าตัวอย่างนี้เราทดสอบแบบ 15 วินาที หรือแบบ 30 นาที เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อน สามารถดูการใช้งานเครื่อง Fluter ได้
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ก็คือ การทดสอบความต้านทานต่อแรงกดทับ ในทิศทางต่างๆ ของทั้งกระดาษและ กล่อง ซึ่งจะใช้เครื่อง Crush ในการทดสอบ และอาจมีเครื่องมือในการเตรียมตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Fluter หรือตัว Cutter ต่างๆ
โดยทาง Chemical House นั้นเป็นตัวแทาจำหน่ายเครื่องมือ เครื่องทดสอบ รวมถึงเครื่อง Crush Tester , Fluter และ Cutter สำหรับเตรียมตัวอย่าง โดยเรามีทั้งสินค้าจาก China, Japan, German และ USA เช่น KRK, Frank PTI หรือ Emerson
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ppsales@chemihouse.com
หรือ Line OA มาที่ QR Code ด้านล่าง