บริษัท Chemical House & Lab Instrument ในฐานะบริษัทผู้จัดหาอุปกรณ์และโซลูชันการทดสอบในห้องปฏิบัติการคุณภาพสูงในภาคอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี SAF จึงจัดงานสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งในการผลิตและข้อกำหนดการรับรองต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยีสำหรับการผลิต SAF
งานสัมมนานี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Navigating the Future of Aviation Challenges and Innovations in Sustainable Aviation Fuel (SAF)” ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ บางนา เมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ในงาน ได้มีบทสัมภาษณ์ของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องด้าน SAF ในหลายภาคส่วน ลงนิตยสาร Oil & Gas Today Magazine ได้แก่
- คุณสุรพร เพชรดี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF) เปิดเผยว่า บริษัทผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานอย่างยั่งยืน (SAF) จากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (UCO) ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน โดยบริษัทได้ร่วมมือกับหลายองค์กรเพื่อสื่อสารและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการรวบรวมน้ำมัน UCO สำหรับผลิต SAF ที่มีกำลังการผลิต 1 ล้านลิตรต่อวัน และคาดว่า SAF จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยมีแผนให้ใช้ SAF 1% ในปี 2026 ในขณะที่การพัฒนาโรงงานผลิต SAF จะแล้วเสร็จในไตรมาส 1 ปี 2025 และจะจำหน่ายให้กับสายการบินทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับ BCG Model ที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการแข่งกับนานาชาติ.
- คุณจีรพันธ์ ปัญญานันท์ Executive Vice President สายงานปฏิบัติการธุรกิจไบโอดีเซล บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA บริษัทกำลังลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) ซึ่งจะเสร็จประมาณไตรมาสที่ 3 ปี 2024 และเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 4 เป็นต้นไป โดยจะใช้เทคโนโลยี HEFA ในการผลิตน้ำมันจากน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ โดยในระยะสั้นจะพึ่งพาน้ำมันพืชใช้แล้ว (UCO) แต่ในอนาคตอาจต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ บริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อย GTR เพื่อพัฒนาวัตถุดิบทางเลือกใหม่ เช่น น้ำมันจากของเสียและพืชน้ำมันอนาคต พร้อมมุ่งหวังที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินที่ยั่งยืน ขณะที่มองว่าตลาด SAF มีแนวโน้มเติบโตและต้นทุนการผลิตอาจลดลงในอนาคต หากมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ
- คุณชัยยง รัตนาไพศาลสุข ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาองค์กร บริษัท การบินไทยฯ เปิดเผยว่าปัจจุบันหลายประเทศในยุโรปบังคับใช้ SAF ในสัดส่วน 2% และการบินไทยร่วมกำหนดแผนให้มีการผสม SAF ที่ 1% ในปี 2026 และ 3-5% ในปี 2027 แม้ว่าจะยังไม่มีข้อตกลงเป็นเอกฉันท์ การใช้ SAF จะเพิ่มต้นทุนเชื้อเพลิง ส่งผลต่อราคาค่าโดยสาร โดยอาจต้องตั้งค่าธรรมเนียมคาร์บอนเพื่อจัดการต้นทุน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมหากมีการบังคับใช้เฉพาะในประเทศ และประเทศไทยต้องมีวัตถุดิบเพียงพอและคุณภาพสูงสำหรับผลิต SAF เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero และได้รับการรับรองตามมาตรการ CORSIA ของ ICAO
- คุณ Kuppusamy Devandran, Project Manager จากบริษัท Petersons Projects & Solutions ผู้ให้คำปรึกษาด้านความยั่งยืนกล่าวว่า อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) มีลักษณะคล้ายกับอุตสาหกรรมชีวภาพและชีวมวล ภายใต้กฎระเบียบพลังงานทดแทนของสหภาพยุโรป (RED) ที่ส่งเสริมการพัฒนาตลาด SAF โดยเฉพาะในอนาคตเมื่อมีการบังคับใช้ CORSIA ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและดึงดูดนักลงทุน นอกจากนี้ มาตรฐาน ISCC เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับสูงสุดในการรับรองคาร์บอนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยสร้างความมั่นใจในห่วงโซ่อุปทานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีมาตรฐานการรับรองมากมายทั้งในระดับประเทศและโลก อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญคือการขาดกลไกทางตลาด เช่น ระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งจำเป็นต้องมีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการลดคาร์บอนและส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรม SAF
- คุณ Samuel Wong, Vice President – Asia Pacific of Petroleum Analyzer Company (PAC) กล่าวว่า PAC มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมมายาวนานถึง 93 ปี และตั้งแต่ปี 2016 ได้เข้าร่วมในตลาดเชื้อเพลิง SAF โดยมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีทดสอบต่าง ๆ ผ่านสมาคม ASTM แม้จะมีความท้าทายหลายประการในอุตสาหกรรม SAF เช่น นโยบายและราคา แต่เขามองว่าความมุ่งมั่นจากรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันการเติบโตของตลาดนี้ นอกจากนี้ เขายังเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเป็นผู้นำด้านการผลิต SAF เนื่องจากทำเลที่ตั้งและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะเมื่อ CORSIA มีผลบังคับใช้ในปี 2027 ไทยต้องรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อเป็นผู้นำในตลาดเชื้อเพลิงอากาศยานในระดับภูมิภาค
- คุณพรรณวดี อรรคลีพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคมีเคิลเฮ้าส์แอนด์แล็บอินสทรูเม้นท์ จำกัด เผยถึงการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการบินสู่การเป็น Aviation Hub ของภูมิภาค โดยมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) ตามมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งจะบังคับใช้ SAF ในสัดส่วน 2% ในอนาคต การพัฒนาจากเชื้อเพลิงดั้งเดิมไปสู่ SAF เป็นก้าวสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสนับสนุนเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี 2065 บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำมันและมาตรฐานการทดสอบ สามารถจัดหาเครื่องมือที่ทันสมัยและแม่นยำ รวมถึงให้บริการฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา SAF ในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถอ่านบทสัมภาษณ์ เต็ม ได้ที่ Oil&Gas Today
สามารถติดต่อ บริษัท Chemical House & Lab Instrument หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 02-1844000
อีเมล: ptsales@chemihouse.com
หรือ Line OA หรือ Add line จาก QR Code ด้านล่าง