Positive Material Identification (PMI)

Positive Maternal Identification (PMI)

Positive Material Identification หรือ PMI คือ การวิเคราะห์ ส่วนผสมทางเคมี เพื่อ ระบุชนิด และเกรดวัสดุ ของ อัลลอยด์ โลหะประเภทต่าง ๆ เพื่อการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) และ ควบคุม ความปลอดภัย (Safety Control) ของวัสดุโลหะ ที่จะนำไปใช้งาน ผลวิเคราะห์ที่ได้จากการทำ PMI จะแสดงธาตุต่าง ๆที่ เป็นองค์ประกอบ ทางเคมีของวัสดุ และปริมาณที่ตรวจพบ โดยมักจะรายงานเป็น เปอร์เซ็นต์ (%) หรือ ppm/ ppb และแสดงชื่อเกรดของ วัสดุที่ตรวจพบด้วย

PMI เป็นเทคนิค การตรวจสอบ ที่ใช้ในการ Accept หรือ Reject วัสดุโละหะ ที่จะนำไปใช้งาน เพื่อบอกว่า อัลลอย์โลหะ ที่จะนำไปไปใช้งาน ถูกต้อง หรือไม่ หรือ เพื่อบอกว่ามีองค์ประกอบ ทางเคมีของธาตุบางตัวที่ไม่ต้องการ หรือไม่ เนื่องจาก ธาตุบางตัวหากมีปริมาณสูง หรือ ต่ำกว่าสเปคที่กำหนดอาจส่งผลต่อคุณสมบัติทางกล (Mechanical Properties) ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลต่อการนำไปใช้งาน วิธีการตรวจสอบ PMI อัลลอย์ถูกใช้ในกระบวนการ QC, Safety Compliance และเป็นส่วนหนึ่งในระบบ Production and Asset Integrity Management

ตัวอย่างภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ทดสอบ PMI

  • Oil & Gas
  • Power Generation
  • Chemical
  • Pharmaceutical
  • Aerospace
  • Nuclear
  • Fabrication

วิธีการตรวจสอบ PMI ถูกใช้ในกระบวนการ QC, Safety Compliance และเป็นส่วนหนึ่งในระบบ Production and Asset Integrity Management

ในหลายภาคอุตสาหกรรม เช่น Oil & Gas, Power Generation, Chemical, Pharmaceutical, Aerospace, Nuclear, และ Fabrication

 

โดยเหตุผลหลักที่ต้องทำ PMI ก็เพื่อให้เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ เช่น ASTM code, Pressure Equipment Directive (PED) in EU, API, หรือ ASME หรือ เป็นนโยบายด้านคุณภาพ และความปลอดภัย เพื่อป้องความผิดพลาดต่าง ๆ เช่น การติดป้ายชี้บ่งวัสดุผิด การปนกันของ วัสดุคนละเกรด หรือ อุบัติเหตุใน โรงงานอุตสาหกรรม PMI จึงมีบทบาทสำคัญในด้านการตรวจสอบเพื่อ ความปลอดภัย ในโรงาน Plant Safety  การตรวจสอบ PMI ยังช่วยป้องกันความผิดพลาดของสินค้า ในกระบวนการผลิต

 

ในอุตสาหกรรม Oil & Gas, Power Generation และ Pharmaceutical การตรวจสอบแนวเชื่อม (Welds) และส่วนประกอบสัญต่างๆใน Process ด้วยวิธีการ PMI ทั้งก่อน และหลังการบริการ หรือซ่อมบำรุง ช่วยลดความผิดพลาดทางกล (Mechanical Failure) ที่เกิดขึ้นในโรงงาน ซึ่งสร้างผลกระทบ และมีค่าใช้จ่ายตามมาที่สูง  นอกจจากนี้ อุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น

ในภาคอุตสาหกรรม มักมีสาเหตุมาจาก Mechanical Failure เช่น

อันเนื่องมาจาก ความผิดพลาดของรอยเชื่อม ซึ่งมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ หรือเกิดมากจากปัญหา Stress Corrosion Cracking, Flow Accelerate Corrosion และนี่คือเหตุผลที่เราทำ PMI

ระเบิดในโรงกลั่นน้ำมัน
การระเบิดในโรงกลั่นน้ำมัน โรงานนิวเคลียร์

 

การทดสอบ PMI ทำโดยใช้เครื่องวิเคราะห์ PMI ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งหมด 3 เทคนิค

1. X-ray Fluorescence (XRF): เครื่อง Hand Held XRF Analyzer

เป็นหนึ่งในเทคนิค ที่ได้รับความนิยม และแพร่หลายมาก สามารถตรวจวัดอัลลอยด์โลหะ ได้หลากหลายชนิด เป็นวิธีการตรวจสอบที่รวดเร็ว และยังเป็นการทดสอบ แบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing) เครื่องมีน้ำหนักเบา แต่มีข้อจำกัด ที่ไม่สามารถตรวจวัดธาตุคาร์บอน C และ ธาตุเบาบางธาตุ บนตารางธาตุได้ จึงไม่เหมาะสำหรับการตรวจสอบ วัสดุกลุ่ม Carbon Steel

2. Laser Induced Breakdown Spectroscopy (LIBS): เครื่อง Hand Held LIBS Analyzer

เป็นเทคนิค ที่กำลังแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจาก จุดเด่นในด้านความเร็ว ในการทดสอบ ที่ใช้เวลาเพียง 1 วินาที ทำให้สามารถตรวจสอบงานปริมาณมาก ในเวลาที่สั้นลง และยังไม่ใช้พลังงาน X-ray จึงไม่ต้องดำเนินการเรื่อง ขอใบอนุญาตครอบครองเครื่อง และไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยจากรังสี เครื่องมีน้ำหนักเบาเช่นเดียวกับ เทคนิค XRF

3. Optical Emission Spectroscopy (OES): เทคนิค OES สามารถตรวจสอบอัลลอยด์โลหะได้ เกือบทุกชนิด

สามารถตรวจธาตุคาร์บอน และธาตุเบาได้ จึงใช้ในการตรวจสอบโลหะกลุ่ม Carbon Steel แม้ว่าจะไม่ได้มีน้ำหนักเบา และออกแบบมาให้พกพาได้ สะดวกเหมือน เครื่อง Hand Held HXRF และ Hand Held LIBS แต่ก็มีอุปกรณ์ช่วย ในการขนย้ายไปทำการวิเคราะห์ PMI ที่หน้างานได้สะดวก OES ยังเป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับ ในเรื่องความเที่ยงตรง และแม่นยำสูง เมื่อเทียบกับเทคนิคอื่น ๆ

PMI
เครื่องวิเคราะห์เกรดโลหะ

บริษัท เคมีเคิลเฮ้าส์ แอนด์ แล็บอินสทรูเม้นท์ จำกัด เราเป็นตัวแทนจำหน่าย เครื่องวิเคราะห์โลกะยี่ห้อ Hitachi

สนใจข้อมูล เครื่องวิเคราะห์ PMI สามารถติดต่อได้ที่:

อีเมล: ppsales@chemihouse.com

โทร: 02-184-4000 ต่อ 201

Scroll to Top