Renewable Energy (Diesel)

Renewable Energy คือ ??

พลังงาน (Energy) เป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของสรรพสิ่งบนโลก โดยเฉพาะมนุษย์หากขาดพลังงานไปแล้วก็อาจจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะ พลังงานจากแสงอาทิตย์ (Solar energy) พลังงานจากน้ำ (Hydropower) และพลังงานลม (Wind energy)  ซึ่งมีมาตั้งแต่อดีตผ่านช่วงกาลเวลา จึงมีการนำถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซมาเป็นพลังงาน จะเห็นได้ว่าพลังงานเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์มากจริง ๆ

เมื่อโลกถูกพัฒนามาเรื่อยๆ พลังงานเหล่านี้เปลี่ยนเป็นพลังงานที่ต้องอาศัย เทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้นเพื่อให้ทันต่อความต้องการใข้งาน จากน้ำมันไปเป็นพลังงานแสง เพื่อให้เกิดเป็นแสงสว่าง และพลังงานลม เป็นต้น ซึ่งพลังงานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. พลังงานสิ้นเปลือง (Non Renewable energy) คือ พลังงานที่ได้จากใต้พื้นดิน หรือที่เรียกว่า พลังงานฟอสซิล (Fossil energy) เป็นพลังงานที่ถูกใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ หรือทดแทนได้ทันตามความต้องการในเวลาอันสั้น ตัวอย่างพลังงานเหล่านี้ ได้แก่ น้ำมันดิบ (ปิโตรเลียม) ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานนิวเคลียรื (แร่ยูเรเนียม)
  2. พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) คือ พลังงานที่ได้จากธรรมชาติรอบตัว ใช้แล้วไม่หมด สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อย ๆ สร้างทดแทนได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพราะเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นต่อเนื่องตามธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ความร้อนใต้พิภพ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ รวมถึงวัสดุหรือผลผลิตที่เหลือจากการเกษตร เช่น กากมันสำปะหลัง ใบ ลำต้น และชานอ้อย แกลบ หรือแม้กระทั่งมูลสัตว์ จึงสามารถเรียกพลังงานเหล่านี้ได้หลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานทดแทน พลังงานใช้แล้วไม่หมด พลังงานสีเขียว หรือพลังงานสะอาด ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือเพิ่มก๊าซเรือนกระจก

 

ปัจจุบัน เราสามารถนำ พลังงานสะอาด หรือ Renewable energy เพื่อเป็นพลังงานทางเลือก และถูกนำมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ทั้งผลิตความร้อน คือเป็นเชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง ผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่อาจหมดไปในอนาคตอันใกล้ Renewable energy ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ที่สำคัญเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบหรือบรรเทามลพิษ จากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สะอาดขึ้น และลดภาวะโลกร้อน จากการเพิ่มขึ้นของ ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases)

 

Renewable energy แตกต่างกับพลังงานฟอสซิลอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น Fossil energy ที่มีอยู่อย่างจำกัด และยังสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากก๊าซมีเทน และปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เป็นผลพลอยได้จากการเผาไหม้ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพอากาศ และระบบนิเวศของโลก

ซึ่งสาเหตุหลักของการปล่อยมลพิษสู่ สิ่งแวดล้อม (Environment) นั่นก็คือ  ควัน เขม่า จากท่อไอเสียรถยนต์ จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง  ซึ่งควันรถยนต์ ประกอบไปด้วย คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดนคาร์บอน ไนตริคออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ อัลดิไฮด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ล้วนแต่เป็นพิษต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม

 

การพัฒนาผลิต Renewable energy ให้ทันต่อความต้องการของประเทศไทย ยังคงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทายอย่างมาก  โดยเฉพาะทางด้านภาคการขนส่ง แม้ว่าจะมีการพัฒนาใช้รถยนต์ หรือเครื่องยนต์ จากไฟฟ้า 100% หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า EV ซึ่งย่อมาจาก Electric Vehicle  แล้วนั้น แต่ยังคงต้องอาศัย และมีความต้องการใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนอยู่ดี

 

ดังนั้น จึงมีสนับสนุนการศึกษา วิจัย และพัฒนาให้มีการใช้ผลิต เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) มากขึ้น “เชื้อเพลิงทางเลือก เชื้อเพลิงชีวภาพ หรือเชื้อเพลิงทดแทน” ทั้งยังเป็นการสนับสนุนธุรกิจทางการเกษตรได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงาน ด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตในท้องถิ่น ประกอบกับอาศัยปัจจัยทางด้านลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ สามารถควบคุมต้นทุนได้เนื่องจากเป็นประเทศเกษตรกรรม และยังเป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ เพิ่มโอกาสการจ้างงาน การส่งออก และการค้า เพื่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

 

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า “เชื้อเพลิงชีวภาพ หรือเชื้อเพลิงทางเลือก” คืออะไร

 

แน่นอนว่าไม่ใช่แค่แบตเตอรี่ไฟฟ้า และเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเท่านั้นที่สามารถใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ได้ เชื้อเพลิงทางเลือก ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกตามชื่อของเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผลผลิตทางการเกษตร และปศุสัตว์ เช่น อ้อย ข้าวโพด มูลสัตว์ ปาล์ม เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน สบู่ดำ ไขมันจากพืช หรือไขมันจากสัตว์ฯลฯ ใช้ประโยชน์จากผลผลิตจากธรรมชาติมาผ่านกระบวนการทำให้เป็นเป็นเชื้อเพลิง

แม้ว่าน้ำมันเบนซิน (Gasoline) และน้ำมันดีเซล (Diesel) ซึ่งเป็นพลังงานจากฟอสซิล ยังคงเป็นพลังงานที่มนุษย์ใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน แต่เชื้อเพลิงทางเลือก ก็มีจำนวนการบริโภคสูงขึ้นเรื่อย ๆ

เนื่องจาก มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำ ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ลดการขาดดุลทางการค้า ยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตรใช้ประโยชน์ได้สูงสุด และสามารถใช้ได้ในระยะยาว มาดูกันว่าในปัจจุบันใช้เชื้อเพลิงทางเลือกอะไรบ้าง

 

1. เอธานอล (Ethanol)

Ethanol คือ เชื้อเพลิงที่เกิดจากผลผลิตทางการเกษตร อย่างเช่น ข้าวโพด และแป้ง ซึ่งเป็นพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้แต่ก็มีอุปสรรคตรงที่ผลผลิตการเกษตรที่ถูกนำมาแปรสภาพเป็น Ethanol คืออาหารของมนุษย์ในปัจจุบัน นั่นหมายความว่า หากนำผลผลิต ทางการเกษตรเหล่านี้มาผลิตเป็นจำนวนมาก ก็อาจทำให้ราคาสินค้า หรืออาหารที่ผลผลิตทางการเกษตรเหล่านี้สูงขึ้นได้

2.  ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)

Natural gas คือ เชื้อเพลิงทางเลือกที่มีใช้กันในหลายประเทสทั่วโลก ด้วยกรรมวิธีการเผาผลาญพลังงานที่สะอาด ในปัจจุบัน มีการออกแบบยานพาหนะที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง แต่การผลิตก๊าซธรรมชาตินั้นก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งมีความรุนแรงในการทำลายชั้นบรรยากาศมากกว่า คาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 21 เท่า

3. ไฮโดรเจน (Hydrogen)

Hydrogen สามารถรวมเข้ากับก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลผลิตเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับยานพาหนะได้ นอกจากนี้  Hydrogen ก็ถือเป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับรถที่ใช้เซลล์พลังงาน ซึ่งผลิตพลังงานด้วยกระบวนการทางเคมที ที่เป็นการรวมตัวของ Hydrogen และOxygen โดยที่ไม่มีการปล่อยมลพิษ แต่  Hydrogen มีราคาค่อนข้างสูง จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก

4. ก๊าซโพรเพน (Propane)

Propane หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อก๊าซ แอลพีจี (LPG) ซึ่งคือส่วนผสมระหว่าง ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบ ซึ่งใช้เป็นอุปกณ์ที่ให้ความร้อนในการทำอาหาร นอกจากนี้ Propane ยังสามารถใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพหนะด้วย ซึ่งก๊าซ LPG มีปริมาณการมลพิษที่น้อยกว่าเชื้อเพลิงปกติจึงมีรถที่ใช้ก๊าซชนิดนี้เป็นจำนวนมาก แต่ก็มีข้อเสียของการผลิตก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในส่วนประกอบ Propane ส่งผลให้เกิดก๊าซธรรมชาติมีเทน (Methane) ซึ่งมีความรุนแรงในการทำลายชั้นบรรยากาศมากกกว่า carbon dioxide ถึง 21 เท่า

5. ไบโอดีเซล (Biodiesel)

Biodiesel คือพลังงานทางเลือกที่ผลิตจากน้ำมันพืช หรือไขมันสัตว์ รวมถึงน้ำมันที่ใช้แล้วหลังจากทำอาหาร จากร้านอาหารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบอาหาร เครื่องยนต์ของยานพาหนะในปัจจุบันมีการปรับปรุงสภาพของเครื่องยนต์เพื่อให้รองรับกับการทำงานสามารถเผาผลาญ biodiesel ด้วยวิธีการที่บริสุทธิ์ และ biodiesel สามารถผสมรวมกับน้ำมันเชื้อเพลิงปกติได้อย่างน้ำมันดีเซล (Diesel) เพื่อใช้ในเครื่องยนต์ที่ยังไม่มีการแก้ไขปรับสภาพ นอกจากนี้ biodiesel มีส่วนช่วยในการลดการปล่อยมลพิษได้ดี

6. เมธิลแอลกอฮอล์ (Methyl alcohol)

Methyl alcohol เป็น alcohol ที่ได้จากไม้ และนำมาใช้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงปกติ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแก่ยานพาหนะ และจะสามารถใช้แทน hydrogen สำหรับรถที่ใช้พลังงานในอนาคต แต่ในปัจจุบัน ค่ายผลิตยานพาหนะทั่วโลกได้ยุติการผลิตรถที่ใช้ methyl alcohol ไปแล้ว ทำให้เชื้อเพลิงชนิดนี้สามารถใช้กับรถที่สามรถใช้เชื้อเพลิงที่หลากหลายเท่านั้น

7. อนกุรมเชื้อเพลิงบริสุทธ์ คือ การผสมระหว่างเอธานอล ก๊าซธรรมชาติ และสาร Methyltetrahydrofuran ซึ่งเป็นสารที่ได้จากชีวมวล อนุกรมเชื้อเพลิงบริสุทธิ์ คือเชื้อเพลิงทางเลือกที่มีออกเทนสูง สามารถใช้กับยานพหนะที่มีการดัดแปลงให้ใช้เชื้อเพลิงได้อย่างหลากหลาย และน่าเสียดายที่ผุ้ผลิตทั่วโลกไม่ค่อยผลิตรถที่สามารถใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้มากนัก

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยความกดดันทางเศรษฐกิจ สังคม และมีกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น จึงต้องมีการค้นหาทางเลือกอื่น นอกเหนือจากเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม เพื่อเป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่มีแนวโน้มไปข้างหน้า พัฒนาแหล่ง พลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน (Sustainable renewable energy) เพื่อสิ่งแวดล้อมที่สะอาดขึ้น ลดภาวะก๊าซเรือนกระจก (GHG : greenhouse gas) และจะมีการใช้พลังงานหมุนเวียนยั่งยืนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต

ทั้งนี้ น้ำมันดีเซลถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงส่วนใหญ่ ในภาคการขนส่งที่ใช้งานหนัก ดังนั้น จึงมีการสนับสนุนการลงทุนทางด้าน น้ำมันดีเซลหมุนเวียน (Renewable Diesel) อย่างรวดเร็ว มีบทบาทสำคัญในการลดคาร์บอน ไม่เพียงแต่น้ำมันดีเซลหมุนเวียนที่ได้มาจากแหล่งที่ไม่ใช่ปิดตรเลียมเท่านั้น แต่ยังเผาไหม้ได้สะอาดกว่า เป็นน้ำมันทดแทนที่น้ำมันดีเซลฟอสซิลที่พร้อมใช้งาน และสามารถก้าวสู่ความเป็นอิสระด้านพลังงาน

 

น้ำมันดีเซลหมุนเวียน (Renewable Diesel) คือ

หรือที่เรียกว่า น้ำมันพืช ที่ผ่านกระบวนการไฮโดรทรีต หรือ HVO (Hydrogenated vegetable oil) จะผลิต Renewable Diesel โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า Hydrotreating ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเติมไฮโดรเจนไตรกลีเซอไรด์ (Fats) เพื่อกำจัดออกซิเจน สามารถใช้วัตถุดิบตั้งต้น (feedstock) ได้หลากหลาย รวมถึงน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ น้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว greases หรือกาก และของเสียอื่น ๆ

Renewable Diesel สามารถทดแทน Diesel ในรถยนต์ที่มีอยู่ได้โดยตรง เนื่องจากมีคุณสมบัติทางเคมีเหมือนกับ Diesel ปกติ ซึ่งหมายความว่า Renewable Diesel สามารถผสมเป็นน้ำมันดีเซลในสัดส่วนใดก็ได้ และพร้อมใช้โดยยานพาหนะโดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์หรือโครงสร้างระบบจำหน่าย

 

ความแตกต่างของ Renewable Diesel และ Biodiesel

ไม่ว่าจะเป็น Renewable Diesel และ Biodiesel ล้วนแต่ผลิตจากน้ำมันพืช greases ไขมันสัตว์ หรือกาก ของเหลือที่ได้จากการเกษตรอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ไบโอดีเซล หรือที่รู้จักกันในชื่อของ กรดไขมันเมทิลเอสเทอร์ (Fatty Acid Methyl Ester ) หรือ FAME ซึ่งสร้างขึ้นจาก

กระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน (Transesterification) และประกอบด้วยออกซิเจน ในทางเคมีแล้วไบโอดีเซลไม่เหมือนกับน้ำมันดีเซล แต่สามารถผสมกับน้ำมันดีเซลได้ในความเข้มข้นที่ค่อนข้างต่ำเท่านั้น (5% ถึง 20% หรือที่เรียกว่า B5 ถึง B20 ตามลำดับ) อัตราส่วนผสมที่สูงขึ้นจะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการไหลเมื่ออุณหภูมิต่ำลง อาจจะเกิดแข็งตัวได้ง่ายกว่าดีเซล หรือต้องปรับแต่งเครื่องยนต์เป็นพิเศษ

 

Biomass technology: FAME vs HVO

 

ข้อดีของน้ำมันดีเซล และน้ำมันไบโอดีเซล มีข้อดีเฉพาะ ได้แก่

  • ลดความเข้มข้นของคาร์บอนในการผลิต
  • การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง และซัลเฟต

 

นอกจากนี้ Renewable Diesel มีคุณประโยชน์เพิ่มเติมที่ Biodiesel ไม่มี ได้แก่:

  • การปล่อยไนโตรเจนออกไซด์เป็นศูนย์ (NOx) – ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดฝนกรด และหมอกควันได้
  • มีค่าซีเทนที่สูงกว่า (>70) – หมายความว่าเผาไหม้ได้สะอาดกว่าไบโอดีเซล
  • ส่งกำลังให้กับเครื่องยนต์ได้มากกว่าไบโอดีเซล
  • ไม่ต้องอัพเกรดอุปกรณ์ หรือแปรสภาพเครื่องยนต์ก่อนใช้
  • สามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้เต็มที่ โดยไม่ต้องเจือจาง หรือผสมใด ๆ
  • ช่วยเพิ่มความเสถียรของน้ำมันเชื้อเพลิง
  • คุณสมบัติ cloud-point และ cold-flow ดีขึ้น

 

ปัจจุบันยุโรปรับผิดชอบประมาณ 50% ของอุปทานน้ำมันดีเซลหมุนเวียนทั่วโลก แต่คาดว่าจะเปลี่ยนจากผู้ส่งออกเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดีเซลหมุนเวียนในอีก 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น

 

ความท้าทายหลักของการใช้น้ำมัน Renewable Diesel ที่สูงขึ้นคือต้นทุนการผลิต ปัจจุบันไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคากับน้ำมันดีเซลได้ แต่ถึงอย่างไร ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ต่างพยายามแสวงหาความทะเยอทะยานด้านความยั่งยืน และเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น Renewable Diesel จึงเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่มีคุณภาพสูงกว่า และให้พลังงานและประสิทธิภาพที่มากกว่า Biodiesel 

เนื่องจาก Renewable Diesel ไม่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ มีคาดการณ์จำนวนมากแนะนำว่าน้ำมันดีเซลหมุนเวียนจะกลายเป็นตัวเลือกที่ต้องการเมื่อต้องพิจารณาน้ำมันดีเซลจากชีวมวล

 

นอกจากนี้ ทั้งน้ำมันดีเซลปกติ หรือดีเซลหมุนเวียน แม้กระทั่ง biodiesel blend ก้ต้องมีการควบคุมคุณสมบัติต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งาน และเครื่องยนต์ รวมถึงข้อกำหนดลักษณะ และคุณภาพของน้ำมันตามระเบียบของกรมธุรกิจพลังงานที่ถูกใช้เป็นกฎระเบียบที่ถูกใช้ในประเทศไทย

 

การทดสอบคุณสมบัติน้ำมันเหล่านี้ มีวิธีการทดสอบที่ค่อนข้างเฉพาะ แต่ก็มีวิธีการทดสอบสะดวกมากขึ้นโดยใช้เครื่องทดสอบแบบอัติโนมัติ  ที่มีขั้นตอน กระบวนการทดสอบเป็นไปตามมารตรฐานการทดสอบ เพื่อลดความผิดพลาดด้านปัจจัยต่าง ๆ ที่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น การทดสอบโดยผู้ทดสอบที่มีประสบการณ์แตกต่างกันก็อาจได้ค่าการทดสอบที่แตกต่างเช่นเดียวกัน ดังนั้น Chemical house and lab instrument  เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการทดสอบ

ซึ่งมีผู้ผลิตเครื่องทดสอบชั้นนำ คือบริษัท PAC เป็นผู้ผลิตเครื่องวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ และกระบวนการสำหรับแก๊สโครมาโตกราฟี (Gas chromatography) การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Component analysis) และคุณสมบัติทางกายภาพ (Physical properties) และยังโดดเด่นเทคโนโลยีด้านปิโตรเลียม และปิโตรเคมี ซึ่งได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 การรับรองมาตรฐาน 17025:2017 ยืนยันความมุ่งมั่นในด้านคุณภาพ และการสนับสนุนลูกค้า

หรือจะเป็นเครื่องทดสอบคุณสมบัติ  Renewable Diesel ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว PAC solutions สำหรับการทดสอบก็ค่อนข้างครอบคลุมตามข้อกำหนดคุณสมบัติของน้ำมันอีกด้วย

PAC Solutions for Renewable Diesels

 

CID 510:

เนื่องจาก HVO มีค่าซีเทน (cetane) ที่สูงกว่า จึงมักใช้เป็นส่วนผสมสำหรับน้ำมันดีเซลเพื่อปรับปรุง และทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามข้อกำหนด

CID 510 เป็นเครื่องทดสอบที่จะวัดค่า DCN (Derived Cetane Number) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญของน้ำมันดีเซล ซึ่งสามารถที่จะทดสอบได้รวดเร็ว แม่นยำ สำหรับค่าซีเทนสำหรับทั้ง HVO ที่สะอาด หรือผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่ผสมแล้ว และนอกจากทดสอบน้ำมันประเภทดีเซลได้แล้ว ยังสามารถทดสอบหาค่าซีเทนของน้ำมันอากาศยาน (JET aviation turbine fuels) ได้อีกด้วย

CID 510 ได้รับการขยายให้สัมพันธ์กับเลขซีเทน (ASTM D613) จาก 39 เป็น 80 ซึ่งครอบคลุมช่วงสำหรับน้ำมันดีเซลทั่วไป ไบโอดีเซล ดีเซลหมุนเวียน และ HVO จากกราฟด้านล่างจะเห็นได้ว่า CID 510 ซึ่งมีวิธีการทดสอบ ASTM D7668 วัดค่าซีเทนได้แม่นยำเมื่อเทียบเคียงกับ ASTM D613

นอกจากนี้ ยังมี solutions อื่น ๆ อีกมาก อย่างเช่น

 

OptiCPP, OptiMPP, DFA-70Xi :

ในทำนองเดียวกัน สามารถประมวลผล HVO ด้วยคุณสมบัติทางด้านความเย็น (cold properties ) ที่ปรับปรุงแล้วที่มากกว่า FAME ดังนั้น จึงใช้เป็นส่วนผสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพข้อกำหนดการไหลของความเย็น OptiCPP, OptiMPP และ DFA-70Xi ทั้งหมดให้การตรวจวัดที่รวดเร็วสำหรับทั้ง cloud point และ pour point  รวมทั้ง DFA-70Xi ก็สามารถวัด cloud point, pour point, ความหนืด (viscosity) และความหนาแน่น (density) ไว้ในเครื่องวิเคราะห์เครื่องเดียว

 

ElemeNtS :

ตรวจจับกำมะถันทั้งหมด และ/หรือ ไนโตรเจนทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สารเรืองแสงอัลตราไวโอเลต (ultraviolet fluorescence : UVF) และเคมีลูมิเนสเซนซ์ (chemiluminescence : CLD) ในตัวอย่างของแข็ง ของเหลว ก๊าซ และก๊าซหุงต้ม (LPG)  รวมถึง HVO และ renewable diesel blends.

 

OptiDist, OptiPMD :

วัดลักษณะการกลั่นของน้ำมัน renewable diesel  โดยใช้วิธีการอัตโนมัติ ASTM D86 หรือด้วยปริมาตรตัวอย่างที่ลดลง และความเร็วที่รวดเร็วด้วย ASTM D7345

 

Renewable Diesel ได้กลายเป็นโซลูชั่นชั้นนำในการแทนที่ดีเซลที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ในขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนจากไบโอดีเซลรุ่นแรกสำหรับภาคการขนส่ง PAC มีประสบการณ์หลายทศวรรษในการช่วยให้อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงดีเซลปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ซึ่ง Chemical house and lab instrument  เป็นตัวแทนเพียงรายเดียวในประเทศไทย เรามีเครื่องมือสำหรับพารามิเตอร์ที่หลากหลาย รวมถึงซีเทน cloud point & pour point  ความหนืด จุดวาบไฟ กำมะถัน การกลั่น และอื่น ๆ

นอกเหนือจากความสามารถของผลิตภัณฑ์ของเราแล้ว ยังมีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับการใช้งาน และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆ เช่น ASTM D975, EN 590, EN 15940 และข้อกำหนดอื่น ๆ อีกมากมาย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ptsales@chemihouse.com หรือติดต่อ Line

 

 

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก:

https://www.cloverpower.co.th/th/updates/blog/187/renewable-energy

http://www2.dede.go.th/share/kmconrner230455doc06.pdf

 

Scroll to Top