การหล่อลื่นในยานยนต์ไฟฟ้า

ในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นทางเลือกมีมาแรงทั้งในกลุ่มผู้บริโภค และผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ในประเทศไทย การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นแบบไฮบริด หรือยานยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบกลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้มีการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมากมาย ทั้งในแง่ของกระบวนการผลิต การออกแบบ รูปแบบการขับขี่ การเติมเชื้อเพลิง และยังรวมไปถึงการออกแบบ การหล่อลื่นในยานยนต์ไฟฟ้า อีกด้วย

 

โดยปกติแล้ว เครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน (Internal Combustion Engine) หรือเครื่องยนต์ในรถยนต์ส่วนใหญ่ จะมีขอเหลวหลักๆ 2 ระบบ ได้แก่ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบสารหล่อลื่น น้ำมันเชื้อเพลิงเองก็ต้องมีคุณสมบัติในการหล่อลื่นที่ดีไปในตัวเช่นกัน (ดูเพิ่มเติม การหล่อลื่นของน้ำมันเชื้อเพลิง https://www.chemihouse.com/fuel-lubricity-testing/) สำหรับระบบหล่อลื่นแล้ว จะมีการใช้สารหล่อลื่นหลายชนิด เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น การใช้น้ำยาหล่อเย็น (Coolant) เพื่อระบายความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการสันดาป การใช้น้ำมันหล่อลื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งกำลังของระบบเพลา ระบบเกียร์ ให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูงสุด ขับขี่ได้นานขึ้น

 

การหล่อลื่นในยานยนต์ไฟฟ้า (EV) จะมีความแตกต่างไปจากระบบหล่อลื่นในเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน คือมีการใช้น้ำมันหล่อลื่นสำหรับถ่ายทอดกำลังของรถไฟฟ้า และมีการใช้สารหล่อเย็น ในการควบคุมอูณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ เพื่อให้ระบบถ่ายทอดกำลังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

การหล่อลื่นในยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

ที่มารูปภาพ: https://www.innovationnewsnetwork.com/water-based-lubricant-provides-new-pathway-for-electric-vehicle-lubrication/29431/

 

ดังนั้น จึงมีการการพัฒนาสารหล่อลื่น ที่สามารถสร้างมีฟิล์มน้ำมันที่แข็งแรง ช่วยปกป้องชุดเกียร์ได้ดี รองรับแรงบิดสูง ช่วยให้รถออกตัวได้ดี ลดการกัดกร่อนเครื่องยนต์ คงความใหม่ให้กับเครื่องยนต์ได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานยาวนาน และสารหล่อเย็นที่ผ่าน ผ่านมาตรฐาน ASTM D3306 , ASTM D6210, JIS K2234 รองรับการใช้งานในระบบหล่อเย็นด้วยของเหลวแบบอินไดเรก ของแบตเตอรี่แรงดันสูง ชุดควบคุมกำลังไฟฟ้า และมอเตอร์ขับเคลื่อน ช่วยลดการเกิดตะกรัน คราบสนิม ไม่ให้กัดกร่อนชิ้นส่วนโลหะในหม้อน้ำและชิลเลอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า และผ่านแผงระบายความร้อนของอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ หรือเซลแบทเตอรี แล้วนำไปยังระบบระบายความร้อน (ที่มา: https://www.pptvhd36.com/automotive/news/179581)

หรือสารหล่อลื่นที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า ที่สามารถไหลผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งแผงวงจร ซีล แผ่นทองเหลือง หรือชิ้นส่วนพลาสติก นอกจากหน้าที่ในการระบายความร้อนให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้ว ยังทำหน้าที่หล่อลื่น และระบายความร้อน ให้กับระบบกลไก มอเตอร์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ซึ่งจะถูกรวมเข้าไปเป็นในระบบเดียวกัน (ที่มา: https://www.autoinfo.co.th/online/394604)

 

การพัฒนาสารหล่อลื่น, การหล่อลื่นในยานยนต์ไฟฟ้า

ที่มารูปภาพ: https://addinol.de/en/products/lubricants-for-the-automotive-sector/oil-electric-cars/

 

การทดสอบเพื่อพัฒนาสารหล่อลื่น

เพื่อจำลองสภาวะของแรงบิด แรงขับ อุณหภูมิ และรูปแบบการเสียดสีที่อาจเกิดขึ้นในชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ เพื่อดูฟิล์มน้ำมัน การลดการกัดกร่อนและเสียดสี (Wear) แรงเสียดทาน (Friction) และการมอนิเตอร์อายุของสารหล่อลื่น ผู้ผลิตสารหล่อลื่น สารหล่อเย็น หรือชิ้นส่วนยานยนต์ จะมีการใช้เครื่องจำลองสภาวะดังกล่าว และการตรวจสอบผลเพื่อพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ใหม่

 

ในการพัฒนาสูตรสารหล่อลื่นใหม่นั้น ในปัจจุบันมีทั้งสูตรที่มีการจัดจำหน่ายแล้ว ยังมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อการนำวัสดุและสารทางเลือก เช่น การพัฒนาสารหล่อลื่นแบบ Water-based-Lubricant หรือ Bio-based Lubricant หรือ การรีไซเคิลน้ำมันจากพอลิเมอร์และจากน้ำมันเชื้อเพลิงปกติ มากขึ้น ทำให้เทคโนโลยี การหล่อลื่นในยานยนต์ไฟฟ้า มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

การทดสอบเพื่อพัฒนาสารหล่อลื่น

 

ที่มารูปภาพ: https://pcs-instruments.com/

 

เครื่องทดสอบดังกล่าว ถูกคิดค้น พัฒนามาตั้งแต่การใช้วิเคราะห์ ทดสอบ สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง สารหล่อลื่น และสารหล่อเย็น จากบริษัท PCS Instrument ประเทศ อังกฤษ ผู้นำด้านการทดสอบ Tribology หรือความสัมพันธ์ระหว่างการหล่อลื่น รอยถลอกสึกกร่อน และการเสียดทาน (Friction) ซึ่งมีเครื่องทดสอบหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสภาวะ เช่น

  1. เครื่อง Mini Traction Machine (MTM) ซึ่งมีผู้ใช้งานมากกว่า 300 องค์กร ทั่วโลก
  2. เครื่อง Extreme Traction Machine (ETM)
  3. เครื่อง Micro Pitting Rig (MPR) สำหรับดูความล้าที่เกิดขึ้นจากการเสียดสี และประเมินอายุการใช้งานของสารหล่อลื่น
  4. เครื่อง MTM-EC สำหรับมอนิเตอร์ Electric Potential ที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีในชิ้นส่วนเครื่องยนต์ผ่านสารหล่อลื่นใหม่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

Tribology, เครื่องทดสอบด้าน Tribology

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับเครื่องทดสอบด้าน Tribology ได้ที่ https://www.chemihouse.com/petroleum-by-brand/pcs/

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ptsales@chemihouse.com หรือติดต่อ Line

 

ขอบคุณที่มาของข้อมูล

https://www.pptvhd36.com/automotive/news/179581

https://www.autoinfo.co.th/online/394604

https://pcs-instruments.com/

 

 

 

Scroll to Top